วันพฤหัสบดีที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2559

แนวบ่า แนวร่องสะบัก

แนวบ่า แนวร่องสะบัก
     บริเวณแนวบ่า แนวร่องสะบัก คือแนวเส้น เป็นทางเดินของลม และเป็นบริเวณที่กักเก็บอาการของแนวที่เกี่ยวเนื่องกันคือ คอ บ่า ไหล่ สะบัก แขน แนวหลังใต้แนวสะบัก แนวหลังติดกระดูกสันหลัง เป็นจุดรวมอาการทางด้านบนของร่างกาย
    ถ้าแนวบ่า แนวร่องสะบักยังไม่ได้แก้ไข แม้เราจะบำบัดอาการต่างๆที่เกิดกับอวัยวะทางด้านบนของร่างกาย คือศีรษะ ต้นคอ ไหล่ แขน อาการที่อวัยวะนั้นๆก็จะทุเลาชั่วคราว เพราะอาการขัดบริเวณร่องสะบัก เป็นจุดรวมของอาการเส้นตึง เมื่อด้านบนลมยังไหลเวียนไม่สะดวก จะถ่ายเทมาทางด้านล่างของลำตัวผ่านสะบัก ผ่านแนวหลังใต้แนวสะบัก ผ่านลงมาถึงเอว ลมวิ่งตัดขวางเข้าแนวหมอนรองกระดูกบริเวณเอว ผ่านลงข้อสะโพก   ผ่านไปแนวขาท่อนบน แนวขาท่อนล่าง ( ข้างขาด้านใน ข้างติดตาตุ่มใน ) ผ่านไปถึงใต้ฝ่าเท้า ร่องนิ้วโป้งเท้า
   อาการที่เกิดจากลมขัดบริเวณรอบๆศีรษะ  ไมเกรน นอนไม่หลับ ปวดศีรษะ น้ำในหูไม่เท่ากัน ลมออกหู ตามองไม่ชัด ไอจามแพ้อากาศ 
   อาการที่มีอยู่ที่ศีรษะ ทางด้านหนึ่ง ลมก็พยายามดันออกทางศีรษะ ส่วนอีกด้านหนึ่งลมจะไหลมากองที่บ่า สะบัก
   อาการที่เกิดจากลมขัดบริเวณแขน อาการยกแขนไม่ขึ้น แขนชา แขนบวม ปวดแขน ปวดข้อมือ ปวดอุ้งมือ มือชา นิ้วล็อก ชาบริเวณปลายนิ้วมือ อาการมืออ้อมไปข้างหลังไม่ได้ สะบักจม หมอนรองกระดูกเคลื่อนทับเส้นประสาทแขน
    อาการที่มีอยู่ที่แขน ทางด้านหนึ่ง ลมก็พยายามดันออกที่ปลายแขน ส่วนอีกทางหนึ่งลมจะไหลมากองที่บ่า สะบัก   

ดังนั้นในการนวดอาการต่างๆที่เกิดขึ้นที่ด้านบน ถ้าเราทำให้ แนวบ่า แนวร่องสะบักกับกระดูกสันหลัง ได้มีการคลายตัวของกล้ามเนื้อ และทำให้แนวร่องนี้เลือดลมไหลเวียนได้ดีขึ้น  บางครั้งแค่เรานวดบำบัดแนวร่องสะบักนี้  อาการปวดด้านบนก็ทุเลาลงแล้ว




วันพฤหัสบดีที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2559

ปวดตุบตุบบริเวณกล้ามเนื้อ

คุณเคยไหม
 มีอาการปวดตุบๆบริเวณกล้ามเนื้อหรืออวัยวะที่เกิดจากอุบัติเหตุ จากการโดนกระแทก โดนชน โดนฟาด  ซึ่งการที่ร่างกายเราเกิดการกระทบนี้ ทำให้กล้ามเนื้อบาดเจ็บ และทำให้เลือดลมที่ปกติไหลเวียนออกนอกกายได้ เกิดอาการขัดขึ้นมา
   การหายใจทางจมูกนั้น ที่จริงแล้วก็เป็นทางเข้า-ออกของลมในกายเราทางหนึ่ง เป็นทางที่ลมหรืออากาศจะไหลผ่านมาทางจมูก ผ่านหลอดลม เข้ามาที่ปอดโดยตรง ปอดก็จะแยกเอาก๊าซอ็อกซิเจนไปใช้งาน ไปฟอกเลือดเสียให้เป็นเลือดดี หลังจากนั้นปอดก็จะคลายก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออกมา เป็นลมหายใจออก
    ปกติแล้วในร่างกายคนเรา ลมในกายเราสามารถไหลเวียน เข้าและออก ได้ทุกรูขุมขน ตามข้อต่างๆ ของร่างกาย  เมื่อร่างกายเราถูกกระทบ ไม่ว่าจะโดนตี โดนรถชน หกล้มมือไปยันพื้น ก้นกระแทก
    ทุกๆการกระทบ กล้ามเนื้อจะบาดเจ็บ ตึง บวมขึ้นมา ทำให้ลม ซึ่งปกติแล้วจะไหลเวียนเข้าออกได้ทุกๆรูขุมขน เมื่อเกิดการกดทับจากกล้ามเนื้อ ปิดรูขุมขนบริเวณนั้น ทำให้เรารู้สึกว่าบริเวณที่บาดเจ็บ จะมีอาการปวดตุบตุบ ทรมาน
     อาการที่ว่านี้ก็คือ การไหลเวียนของลมบริเวณที่กล้ามเนื้อเราบาดเจ็บ ลมขัด ไหลเวียนต่อไปไม่ได้ ทำให้ลมไปอั้นอยู่บริเวณนั้น แล้วไปกดทับกล้ามเนื้อบริเวณนั้น ทำให้เรามีอาการปวดตุบตุบ อาการนี้จะค่อยๆหายไป เมื่อลมที่ขัดอยู่บริเวณนั้นได้แผ่ออกไปบริเวณอื่น ในร่างกาย เป็นเพียงแค่ลมเปลี่ยนจากที่หนึ่งไปอีกที่หนึ่ง ลมที่ว่านี้ยังไม่สามารถไหลออกไปนอกกายได้ ( เปรียบเปรยก็คือ ลมชุดนี้เข้ามาในกายแล้ว แต่ลมชุดนี้ไม่สามารถไหลออกนอกกายได้ ยังคงวิ่งพล่าน วนอยู่ในกาย รอโอกาสที่จะได้ไหลออกนอกกาย )
ยกตัวอย่าง เหมือนกับนกบินเข้ามาในห้อง ที่หน้าต่างเป็นกระจกใสทุกบาน มีหน้าต่างหนึ่งบานที่ไม่ได้ใส่กระจก เราเคยเห็นว่านกบินชนกระจกหลายครั้ง เพื่อที่จะออกไปนอกห้อง แต่ก็ยังออกไปไม่ได้ ล่วงหล่นลงมาที่พื้นห้อง ครั้งแล้วครั้งเล่า จนเมื่อนกตัวนั้นเปลี่ยนทิศทาง บินไปยังช่องหน้าต่างที่ไม่ได้ใส่บานกระจก นกก็บินออกไปได้ในครั้งเดียว
      สื่อให้เห็นว่า การที่ลมเกิดอาการขัดขึ้นมา ลมไหลเวียนไม่เป็นปกติ เนื่องจากการที่รูขุมขน อุดตัน จะด้วยสาเหตุใดก็ตาม ลมที่จะต้องออกจากกายตามรูขุมขน เมื่อออกไม่ได้ ก็เหมือนกับนกที่บินชนกระจกและทุกๆครั้งก็จะล่วงลงพื้น ( จึงมีอาการปวดตุบตุบ ) และเมื่อเราทำให้ลม เคลื่อนไหลออกนอกกาย ตามรูขุมขน ตามข้อต่างๆได้ อาการปวดตุบตุบนี้ก็จะหายไปเอง