วันอังคารที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

ท่านอนตะแคง บำบัดอาการไมเกรน ( ตอน 5)

ท่านอนตะแคง บำบัดอาการไมเกรน ( ตอน 5)





การนวดไล่ลม เป็นการนวดตามแนวเส้น แค่จุดเดียวก็สามารถขับเคลื่อนลมในแนวเส้นที่ขัดอยู่ตามท่อนกระดูก ให้ไหลเวียนออกไปนอกร่างกายได้
อาการไมเกรน เป็นอาการที่เกิดจากการไหลเวียนของเลือดลม บนส่วนบนของร่างกายไม่ค่อยดี อาการเริ่มต้นที่คอ-บ่า-ไหล่
แขนตึง บ่าตึง ต้นคอตึง กล้ามเนื้อตึงแข็ง เกิดจากการที่กล้ามเนื้อล้า แข็ง แน่น แนวเส้นที่ลากผ่านบริเวณนี้จึงโดนกดทับ ทำให้เลือดลมไหลไม่สะดวก
แนวเส้นที่เราจะใช้นวดแก้อาการไมเกรนนี้ จึงมีแนวหลักๆที่ต้องนวดคือ
1. แนวนอนตะแคง
2. แนวนอนคว่ำ
เพราะเส้นนี้ตึงจากฝ่าเท้า ส้นเท้า เอ็นร้อยหวาย กลางปลีน่อง ขาท่อนบน
ก้นกบ กระเบนเหน็บ เอว แนวหลังติดกระดูกสันหลัง แนวต้นคอ ศีรษะ
( หน้าผาก)
3. นวดแนวนั่ง
เพราะบ่าตึง จึงรั้งขึ้นต้นคอ
4. นวดแขน
เพราะมือตึง แขนตึง จึงรั้งไปที่บ่า ที่คอ
อาการที่เกิดจากเส้นที่นอนตะแคงนวด เป็นอาการที่เกิดจากด้านบนของร่างกาย มาจาก คอ บ่า ไหล่ แขน สะบัก หลัง เอว ทิศทางของลมจะวิ่งจาก คอ บ่า ไหล่ ลงมารวมอยู่ที่สะบัก วิ่งลงมาที่แนวหลังใต้แนวสะบัก วิ่งตัดขวางเข้าเอว ( หมอนรองกระดูกเอว )
การบำบัดให้ลมในแนวเส้นนี้ไหลเวียนออกนอกกายได้ จึงเป็นการเคลียร์ในส่วนของลมที่ขัดอยู่ในแนวเส้นนี้ให้ไหลออกนอกกาย
นวดแนวนอนตะแคง แนวเส้นที่เราจะใช้นวด
1.เส้นข้างขาด้านใน
2. เส้นหน้าแข้งด้านใน
3.ประตูลมข้างตาตุ่มใน
4. แนวฝ่าเท้า ใต้ร่องแนวระหว่างนิ้วโป้ง กับนิ้วชี้
เรากดนวดลงบนแนวเส้นบริเวณขาท่อนบน ( ใกล้ขาหนีบ ) ลมวิ่งร้อนออกที่ปลายเท้าได้ ย่อมหมายถึงความหนาแน่นของลม หรือความดันลมที่อยู่ในแนวขามีความดันของลมที่น้อยลง ส่งผลให้ความดันลมของแนวที่อยู่ด้านบนร่างกายในแนวเส้นนี้ ตั้งแต่จุดที่เหนือขึ้นไปยังมีความดันลมที่สูงกว่าด้านล่าง
ลมที่อยู่ด้านบนร่างกายในแนวเส้นนี้ ตั้งแต่ศีรษะ คอ บ่า ไหล่ แขน สะบัก หลังใต้แนวสะบัก เอว สลักเพชร ก็จะแพร่ลงไปยังแนวขาที่มีความดันของลมลดลงจากการนวดแล้วร้อนออกปลายเท้า
จึงทำให้ลมตามแนวเส้นที่กล่าวมา มีความดัน ณ.บริเวณนั้นลดลงมาเรื่อยๆ จากด้านล่างขึ้นไป จนในบางครั้งแค่เรากดเส้นนี้จนลมร้อนลงขาแล้ว อาการคอบ่าไหล่ก็เบาขึ้นทั้งๆที่เรายังไม่ได้นวดคอบ่าไหล่

วันอาทิตย์ที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

แก้อาการล้มหงายหลัง

แก้อาการล้มหงายหลัง

    เป็นอาการที่เจออย่างปัจจุบันทันด่วน เมื่อวานนี้พี่สาวผมลื่นล้มหงายหลัง หลังกระแทกพื้น ดีที่ว่าศีรษะ และก้นกบไม่โดนกระแทก อาการโดยหลักที่มีคือ หลังยอก เจ็บตึงเหมือนระบม นอนหงายไม่ได้  บริเวณเอว บริเวณแผ่นหลัง แนวสีข้าง แนวท้าวสะเอว และมีอาการปวดตึงแนวแขน ต้นคอ
      ปกติแล้ว ผมจะมีการนวดไล่ลมแก้อาการเดิมๆที่พี่สาวมีอยู่ คือตึง ปวดเส้นเนื่องจากทำงานบ้านมาตลอด จนปัจจุบันอายุ 61ปีแล้ว
     หลังจากลื่นล้มแล้ว มีอาการยอก นอนหงายไม่ได้ เจ็บตึงเหมือนระบม บริเวณเอว บริเวณแผ่นหลัง แนวสีข้าง แนวท้าวสะเอว ก่อนอื่นได้บอกให้พี่สาวกินสมุนไพรแคปซูล เถาเอ็นอ่อน เพื่อปรับระบบลมในร่างกายทั้งหมดที่ขัดในขณะที่ล้ม ให้ไหลเวียนได้ดีขึ้นก่อน ที่จะมีโอกาสนวดบำบัด
       หลังจากนั้นประมาณ 4 ชม ถึงได้มีโอกาสที่จะนวดบำบัดให้ ซึ่งในเรื่องของการนวดไล่ลมนั้น เมื่อล้มและขัดยอกอยู่บริเวณหลัง เอว เราไม่สมควรไปกดนวดบริเวณนั้น เราเพียงแต่ไล่ลมที่ขัดอยู่ในแนวที่โดนกระแทกเท่านั้น โดยในกรณีนี้ ได้เริ่มต้น
        ให้นอนคว่ำ แก้แนวหลังที่ตึงมาจากขา แนวหลังติดกระดูกสันหลัง เพื่อดึงลมที่อั้นอยู่ตอนที่ล้มให้ไหลเวียนออกนอกกาย
       ให้นอนตะแคง เพื่อไล่ลมที่ตึงมาจากด้านบนร่างกาย แนวหลังใต้แนวสะบัก แนวเอว แนวเอวตัดขวาง แนวสลักเพชร
         ให้นั่งเพื่อไล่ คอ บ่า ไหล่  แขน
      หลังจากนวดไปถึงตอนนี้ พี่สาวสามารถนอนหงายได้แล้ว จึงทำการนวดแนวหน้าขา แนวต้นขา แนวข้างขาด้านนอก ( ตึงขึ้นสีข้าง )  แนวหน้าแข้ง 
และเมื่อกดนวดเป็นเวลาประมาณ 2 ชม บริเวณแนวที่มีอาการมีอาการตึงน้อยลง  ส่วนอาการที่เหมือนช้ำ อักเสบก็ยังมีอยู่ ลดลงไปประมาณ 10-20 % เท่านั้น เวลาขยับก็ยังมีอาการเคล็ดขัดยอกอยู่ เมื่อนวดเสร็จจึงให้นอนพัก
     ปกติแล้วถ้าเราล้มฟาดลงมา วันรุ่งขึ้นส่วนมากจะมีอาการตึงยอกไปทั้งตัว แต่ในรายของพี่สาวผม เช้าวันนี้  ตื่นขึ้นมายังเดินเหินได้ปกติ นอนหงายได้ แต่ยังมีอาการยอกลึกๆ บริเวณแนวท้าวสะเอว  จึงทำการนวดซ้ำอีก 2รอบ คือตอนเช้า และตอนค่ำ
      นวดตอนเช้า ซ้ำแนวนอนคว่ำ นอนตะแคง นอนหงาย ปรากฏว่าอาการตึงของแนวเส้นก็เบาลง และอาการยอกที่เอวก็เบาลงเล็กน้อย แต่มีข้อสังเกตว่า ตั้งแต่เมื่อวาน จนถึงวันนี้ตอนเช้า เวลาเหยียบ จุดที่เหยียบร้อน แต่พอเวลายกให้ลมวิ่งนั้น ไม่มีการเคลื่อนตัวของลมในกาย
       แต่พอนวดตอนหัวค่ำ ซ้ำเป็นครั้งที่3 ปรากฏว่าเวลากดในแนวท่านอนหงาย คว่ำ ตะแคง เวลากดลงที่ต้นขา มีอาการตึงกระทุ้งไปตรงแนวที่ล้มกระแทก อาการของเส้นหย่อนลง และหลังจากยกให้ลมวิ่งนั้น ลมเริ่มวิ่งร้อนลงมาถึงหัวเข่า นั่นแสดงว่าอาการขัดของลมกำลังคลายตัว ลมเริ่มที่จะไหลออกมาที่หัวเข่า ต่อไปก็จะไหลออกข้อตาตุ่ม ข้อเท้า นิ้วเท้า และต่อไป ลมก็จะทะลวงขึ้นแนวสะโพก เอว หลัง บ่า ฯลฯ อาการที่เกิดจากลมฟาดแผ่นหลัง จนทำให้ลมหยุด ก็จะคลายออกได้ตามแนวทางการนวดไล่ลมนี้