วันศุกร์ที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2560

พลังงานที่มากระแทกร่างกายแล้วไปไหน ( ตอน 7.3 )

พลังงานที่มากระแทกร่างกายแล้วไปไหน ( ตอน 7.3 )  

อาการไหล่ติด แขนชา มือชา
    เพียงแค่เราทำให้ลมไหลเวียนได้ ไหลเวียนออกนอกร่างกายตามทวารต่างๆ ตามข้อต่างๆ ตามรูขุมขนต่างๆทั่วร่างกาย พลังงานที่อัดแน่นอยู่ภายในก็จะคลายตัวออกมาเอง
    ปกติแล้วการบำบัดอาการต่างๆ จะทำเพียงแค่ทำให้อาการปวดหายไป อาการบวม อักเสบหายไป แต่อาการที่เกี่ยวกับพลังงานที่เข้ามาสั่งสมอยู่ภายในร่างกายไม่ได้มีการแก้ไขเลย    
1. พลังงานที่แทรกสะท้านเข้ามาทางศีรษะ ( กระหม่อม )
2. พลังงานที่แทรกสะท้านเข้ามาทางแขน ( ฝ่ามือ นิ้วมือ )
3. พลังงานที่แทรกสะท้านเข้ามาเนื่องจากอุบัติเหตุ ศีรษะโดนถูกกระแทก  ชนกระชากตามท่อนแขน    
ทุกๆการกระทำ เมื่อเราถูกชน ถูกกระแทกทางศีรษะหรือแขน พลังงานก็จะวิ่งเข้ามาตามแนวเส้น ชนที่ศีรษะพลังงานที่เข้ามาก็จะมาสิ้นสุดบริเวณแนวบ่า ถ้ามีการกระทำที่แขนพลังงานที่เข้ามาจะสิ้นสุดอยู่ที่บ่าและบริเวณสะบัก ทั้งนี้เนื่องจากบ่าและรักแร้ สะบักเป็นแนวของร่างกายที่เชื่อมต่อกับระยาง แขน และศีรษะ
      พลังงานที่เข้ามาทางด้านบนของร่างกายจะมารวมกันอยู่บริเวณแนวบ่า สะบัก  การที่เรานวดในแนวร่องบ่า ระหว่างกระดูกสันหลังและสะบัก จึงเป็นการปลดปล่อย เป็นการคลายกล้ามเนื้อ ทำให้เลือดไหลเวียนดีขึ้น ทำให้ลมที่ขัดบริเวณนี้เคลื่อนตัวไหลออกนอกกายได้ และเมื่อลมไหลเวียนออกนอกกายได้ธาตุไฟที่กำเริบ คือตัวร้อนแต่ไม่มีไข้ ร่างกายเราก็จะค่อยๆเย็นลงจนเป็นปกติ นั่นคือการปรับสมดุลธาตุดินน้ำลมไฟในร่างกายเราให้กลับมาเป็นปกติ
        แต่ถ้าเราไม่บำบัด อาการขัดของลมนี้ ต่อไปแนวบริเวณบ่า สะบัก และแนวร่องสะบัก ก็จะมีพังผืดมาปกคลุม เนื่องจากกล้ามเนื้อยังคงบาดเจ็บต่อเนื่อง ร่างกายจึงยังคงสร้างพังผืดขึ้นมาคุ้มครองกล้ามเนื้อนั้น นานวันเข้าบริเวณที่พลังงานคั่งค้างอยู่คือแนวบ่า สะบัก แนวร่องสะบัก จึงมีชั้นผังพังผืดที่หนามากขึ้น
        ถ้าพังผืดที่อยู่ในชั้นกล้ามเนื้อปกคลุมบริเวณท่อนกระดูก เราจะเห็นชัดแค่ว่ากล้ามเนื้อหดหายลงไป และอาจจะมีการบวมอูมขึ้นมาของพังผืดรอบๆผิวหนังบริเวณนั้น
        แต่ถ้าพังผืดที่ยึดอยู่ในชั้นกล้ามเนื้อปกคลุมอยู่บริเวณข้อกระดูก เช่นพังผืดยึดบริเวณร่องสะบัก จะทำให้การเคลื่อนไหวของแนวสะบักไม่ดี บางครั้งยกแขนไม่ขึ้น บางครั้งเอามือไขว้หลังไม่ได้ ทำให้มือชา แขนชา
         ถ้าเราคลายกล้ามเนื้อบริเวณแนวบ่า สะบักนี้ได้การไหลเวียนของพลังงานที่สั่งสมในแนวเส้นก็จะไหลเวียนออกนอกกายที่ปลายแขนและศีรษะ
          แต่ถ้าเราปล่อยให้อาการขัดนี้ยังเกิดขึ้นต่อเนื่อง พลังงานก็จะค่อยๆเคลื่อนลงมาตามแนวเส้น จากสะบัก ไหลลงมาตามแนวหลังใต้แนวสะบัก
          ถ้าเราปล่อยให้อาการขัดนี้ยังเกิดขึ้นต่อเนื่อง พลังงานก็จะค่อยๆเคลื่อนไปตามแนวเส้น ตัดขวางเข้าเอว ( หมอนรองกระดูกเอว ข้อที่3-4-5 ) เราจึงมีอาการปวดเอว
           ถ้าเราปล่อยให้อาการขัดนี้ยังเกิดขึ้นต่อเนื่อง พลังงานก็จะค่อยๆเคลื่อนไปตามแนวเส้น ผ่านลงมาที่ข้างขาด้านใน ทำให้เกิดอาการหมอนรองกระดูกเคลื่อนทับเส้นประสาทขา
 แต่ผลข้างเคียงที่หมอนรองกระดูกเคลื่อนทับเส้นประสาทขา ยิ่งกดทับนานมากเท่าใด ยิ่งนานวันขึ้น พลังงานที่สั่งสมที่เอวยิ่งมากขึ้น คือลมที่กองอยู่ที่เอวก็มากขึ้น ความดันของลมที่อยู่ในแนวเอว ลมก็ไปกดทับหมอนรองกระดูก ทำให้หมอนรองกระดูกเคลื่อนออกจากแนวปกติมากขึ้นเรื่อยๆ ยิ่งมากขึ้น เส้นประสาทขาก็ยิ่งโดนกดทับแรงขึ้น
            ผลที่เกิดขึ้นคือ แนวเส้นประสาทขาโดนกดทับ จึงมีอาการปวด ชา  ปวดร้าว ตามแนวสะโพก ( สลักเพชร) ขาแนวตาตุ่มนอก ชาถึงนิ้วก้อยเท้า

          แล้วเราจะบำบัดอย่างไรกับอาการหมอนรองกระดูกเคลื่อนทับเส้นประสาทขา

วันพฤหัสบดีที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2560

พลังงานที่มากระแทกร่างกายแล้วไปไหน ( ตอน 7.2 )



พลังงานที่มากระแทกร่างกายแล้วไปไหน ( ตอน 7.2 )    

 ท้องโตแต่ไม่ได้ท้อง
        เมื่อใดก็ตามที่เราใช้ชีวิตประจำวันด้วยการเดิน การยืน การกระโดด หรือแม้แต่การนั่งขับรถมีการเหยียบเบรก เหยียบคลัช พลังงานเข้าสู่ร่างกาย เริ่มจากฝ่าเท้า ส้นเท้า เอ็นร้อยหวาย น่อง ขาท่อนบน แก้มก้น ก้นกบ แนวเส้นขนานติดกระดูกสันหลัง ในช่องท้อง แนวบ่า แนวต้นคอ และไปสิ้นสุดที่บนศีรษะ
ในสภาวะปกติ  ทุกๆก้าว ทุกๆการกระทำ พลังงานที่สะเทือนเข้ามาในร่างกาย จะค่อยๆสั่งสมเพิ่มเติมขึ้นมา เริ่มจากฝ่าเท้า แล้วค่อยๆแน่นไปตลอดแนวจนถึงบนศีรษะ ถ้าพลังงานสั่งสมมาถึงช่องท้องเมื่อไร ให้เราคิดตามนะครับ
- ผู้หญิงที่ตั้งครรภ์แล้วท้องโตขึ้น เนื่องจากมีทารกมีขนาดโตขึ้นเรื่อยๆตามอายุครรภ์ อายุครรภ์ 2เดือน แทบจะไม่มีอะไรที่แตกต่างจากปกติ
- อายุครรภ์ 4-5เดือน หน้าท้องเริ่มขยายออก ท้องเริ่มโตขึ้น ต้องใส่ชุดคลุมท้องแล้ว
- อายุครรภ์ 9เดือน หน้าท้องขยายท้องใหญ่เต็มที่ เดินอุ้ยอ้าย อึดอัดไปหมด
- หลังจากคลอดลูกแล้ว หน้าท้องที่ขยายออกไป ก็จะค่อยๆแฟบลง นิ่มลง แต่กล้ามเนื้อหน้าท้องที่ยืดขยายออกไป ต้องใช้เวลาอีกเป็นเดือนถึงจะกระชับเหมือนเดิม เราจึงเห็นว่าคนที่คลอดลูกแล้วท้องยังใหญ่อยู่
     ลักษณะของพลังงานที่สั่งสมอยู่ในช่องท้องก็เหมือนกัน เมื่อในช่องท้องสั่งสมพลังงานมากขึ้น ความแออัดของพลังงาน ก็คือความดันของพลังงานที่อยู่ในช่องท้องก็จะค่อยๆดัน ยืดชั้นกล้ามเนื้อ ผิวหนังหน้าท้องออกไป ท้องจึงบวมโตขึ้น ( หน้าท้องไม่มีกระดูกเป็นโครงสร้าง กล้ามเนื้อและผิวหนังจึงขยายโตออกไปได้ )
       คนที่มีอาการลักษณะนี้ ส่วนมากจะมีอาการตัวร้อนแต่ไม่มีไข้ รองช้ำ ตะคริวที่น่อง ขาไม่มีแรง ลมแน่นท้อง จุกเสียดที่ลิ้นปี่ ปวดตึง ตามบ่าสะบัก มีการเรอบ่อยๆ ปวดหลังปวดเอว กรดไหลย้อน บางคนกลืนน้ำลายไม่ลง กลืนอาหารไม่ได้ หายใจไม่ค่อยได้ มึนที่หน้าผาก
      การบำบัดอาการนี้ ต้องทำให้พลังงานที่สั่งสมให้คลายออก ให้เน้นกดไล่ที่ขาท่อนบนในท่านอนคว่ำ ให้ลมไหลออกตามข้อ ตามรูขุมขนไปให้ตลอดถึงนิ้วเท้า  ลมที่ไหลออกปลายเท้าจะนำพาพลังงานที่ค้างคาอยู่ในแนวเส้นนี้ออกไปด้วย ก็จะทำให้ความต่างศักย์ระหว่างพลังงานที่อยู่เหนือขาท่อนที่กดนวด ซึ่งยังมีความดันของพลังงานสูง กับพลังงานที่อยู่ใต้แนวขาที่กดนวดที่ความดันของพลังงานลดลงมาแล้ว ลมที่อยู่ในช่องท้องก็จะนำพาพลังงานที่อยู่ในช่องท้องให้แพร่ ไหลลงมาตามแนวเส้น ผ่านไปยังจุดที่กด และผ่านตามข้อ ตามรูขุมขนที่โล่งแล้ว ออกนอกร่างกายไป
      อาการร้อนแต่ไม่มีไข้ก็จะค่อยๆดับลงไป  และอาการแน่นตึง ท้องบวมโตก็จะค่อยๆทุเลาลง ท้องจะนิ่มลง แต่ยังคงพองโตอยู่เนื่องจากกล้ามเนื้อที่ขยายตัวออกไป จะต้องใช้เวลาระยะหนึ่งก็จะกระชับ กล้ามเนื้อหน้าท้องก็จะยุบลงมา เป็นปกติ

พลังงานที่มากระแทกร่างกายแล้วไปไหน ( ตอน 7.1 )

พลังงานที่มากระแทกร่างกายแล้วไปไหน ( ตอน 7.1 )

    ในตอนนี้จะกล่าวถึงทิศทางของพลังงานที่เข้าสู่ร่างกาย โดยจะเริ่มที่พลังงานที่เข้ามาทางขา ทิศทางเริ่มต้นของการเข้ามาของพลังงานมี2แนว คือ
     1.พลังงานเข้ามาจากฝ่าเท้า ส้นเท้า เอ็นร้อยหวาย น่อง ขาท่อนบน แก้มก้น ก้นกบ แนวเส้นขนานติดกระดูกสันหลัง ในช่องท้อง แนวบ่า แนวต้นคอ และไปสิ้นสุดที่บนศีรษะ
   2.ส่วนมากพลังงานจะเข้ามาเนื่องจากมีการพลิกแพลงของข้อตาตุ่มนอก ทำให้พลังงานลงไปที่หลังเท้า ตามแนวร่องเส้นระหว่างนิ้วโป้ง-นิ้วชี้ , ตามแนวร่องเส้นระหว่าง นิ้วชี้ - นิ้วกลาง  , ตามแนวร่องเส้นระหว่างนิ้วกลาง-นิ้วนาง
          และด้านบนทำให้พลังงานไหลขึ้นไปตามหน้าแนวเส้นหน้าแข้งด้านนอกทั้ง3เส้น เส้นที่1ผ่านขึ้นหัวเข่า หน้าขา ช่องท้องแนว แนวศีรษะด้านหน้า สุดท้ายที่ศีรษะ
         และแนวเส้นหน้าแข้งด้านนอกเส้นที่ 2-3 พลังงานไหลขึ้นไปผ่านหัวเข่า ผ่านไปตามแนวเส้นข้างขาด้านนอก ผ่านเข้าสีข้าง ไปยังใต้รักแร้ ไปสิ้นสุดที่บนศีรษะ

     ทุกๆอิริยาบถในชีวิตประจำวัน ทุกๆการก้าวเดิน จะมีพลังงานที่สะท้อนเข้าไปในกาย เช่นเดียวกับทุกๆการกระโดดก็จะมีพลังงานสะท้อนจากฝ่าเท้า ส้นเท้า เอ็นร้อยหวาย น่อง ขาท่อนบน แก้มก้น ก้นกบ แนวเส้นแนวขนานติดกระดูกสันหลัง ในช่องท้อง แนวบ่า แนวต้นคอ ศีรษะ
     ดังนั้น พลังงานที่เข้าไปจากการเดินอย่างปกติ ก็เป็นการสั่งสมพลังงานทีละนิด วันละนิด ค่อยๆสั่งสมและดันสูงขึ้นไปจากฝ่าเท้าไปถึงศีรษะ
      พลังงานที่เข้าไปจากการที่เราได้รับบาดเจ็บจากการกระโดดจากที่สูง ในบางครั้งพลังงานที่เข้าไปนี้ในครั้งเดียวสะเทือนเข้าไปถึงแนวเอว แนวหลัง ทำให้เรามีอาการปวด เสียดอยู่ในบริเวณนั้นระยะหนึ่ง จนอาการปวดเสียดบริเวณนั้นหายไป แต่ทุกๆพลังงานที่เข้าไปนั้นไม่ได้ไปไหน ยังคงคั่งค้างอยู่
ถ้าเราเดิน พลังงานที่สะท้อนเข้าในกาย ก็จะเข้ามาแค่บริเวณฝ่าเท้า อุ้งเท้า
ถ้าเรากระโดดจากบันไดที่สูง 5 ขั้น พลังงานที่สะท้อนเข้าในกาย ก็จะเข้ามาถึงหัวเข่า
ถ้าเรากระโดดจากกำแพงสูง2เมตร พลังงานที่สะท้อนเข้าในกาย ก็จะเข้ามาถึงหลัง
ถ้าเรากระโดดจากระเบียงชั้น2  พลังงานที่สะท้อนเข้าในกาย ก็จะเข้ามาถึงต้นคอ ศีรษะ
ถ้าเราเตะฟุตบอล พลังงานที่สะท้อนเข้ามาก็จะเข้ามาตามแนวหน้าแข้ง หัวเข่า หน้าขา
      เราต้องกลับไปคิดดูว่า อาการที่เราบาดเจ็บเรื้อรัง ทุกๆอาการนั้นมีที่มาที่ไป  ถ้าอาการบาดเจ็บนั้นๆ เราเพียงแต่บำบัดให้อาการบาดเจ็บกล้ามเนื้อหายไปเท่านั้น แต่การไหลเวียนของพลังงานที่สะเทือนเข้าไปในกายไม่ได้รับการแก้ไข คือลมในกายยังไหลเวียนออกนอกกายตามรูขุมขนต่างๆไม่ได้ เมื่อนั้นต้นเหตุในอาการเจ็บนั้นๆก็ยังคงอยู่เปรียบเสมือนภูเขาไฟที่สงบ สั่งสมพลังงานรอวันที่จะระเบิดออกมาเท่านั้นเอง

วันเสาร์ที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2560

พลังงานที่มากระแทกร่างกายแล้วไปไหน ( ตอน 7 )

พลังงานที่มากระแทกร่างกายแล้วไปไหน ( ตอน 7 )  

    ในตอนต่อไปนี้จะกล่าวถึงทิศทางของพลังงานที่เข้าสู่ร่างกาย ในทุกๆกิริยา ทุกๆอิริยาบถในชีวิตประจำวัน ให้เห็นว่าตัวพลังงานที่แทรกสะท้านเข้ามาในร่างกาย ที่เราไม่เคยนำออกมาเลย เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เราป่วยเรื้อรัง ทำให้เราต้องนวด ต้องรักษาด้วยการกินยาอย่างไม่มีวันสิ้นสุด
    เพียงแค่เราทำให้ลมไหลเวียนได้ ไหลเวียนออกนอกร่างกายตามทวารต่างๆ ตามข้อต่างๆ ตามรูขุมขนต่างๆทั่วร่างกาย พลังงานที่อัดแน่นอยู่ภายในก็จะคลายตัวออกมาเอง
    ปกติแล้วการบำบัดรักษาอาการต่างๆ จะรักษาเพียงแค่ทำให้อาการปวดหายไป อาการบวม อักเสบหายไป แต่อาการที่เกี่ยวกับพลังงานที่เข้ามาสั่งสมอยู่ภายในร่างกายไม่ได้มีการแก้ไขเลย
    
     โดยปกติเราจะมีระยางทั้ง5คือ ศีรษะแขน 2ข้าง  ขา 2ข้าง เป็นอวัยวะที่เชื่อมต่อกับลำตัว คือแนวบ่า แนวสะบัก (รักแร้ ) แนวสะโพก ( สลักเพชร)
1.  พลังงานที่แทรกสะท้านเข้ามาทางศีรษะ ( กระหม่อม )
2.   พลังงานที่แทรกสะท้านเข้ามาทางแขน ( ฝ่ามือ นิ้วมือ อุ้งมือ )
3.  พลังงานที่แทรกสะท้านเข้ามาทางขา ( ฝ่าเท้า หลังเท้า )
4.  พลังงานที่แทรกสะท้านเข้ามาเนื่องจากอุบัติเหตุ การถูกกระทบ กระแทกตามลำตัว ชนกระแทกตามศีรษะ ชนกระแทกตามท่อนแขน ชนกระแทกตามท่อนขา      

      หัวข้อ พลังงานที่มากระแทกร่างกายแล้วไปไหน ( ตอน 7 ) จะทยอยเรียบเรียง ในส่วนของพลังงานที่เข้ามาในร่างกายตามระยางต่าง หรือเกิดโดยตรงจากอุบัติเหตุ ซึ่งเป็นการแชร์ประสบการณ์ที่ได้มาจากการนวดไล่ลม ตั้งแต่ปี 2548 จนถึงปัจจุบัน
       ส่วนเพื่อนๆที่มีวิชาชีพในการบำบัดอาการป่วยไข้ ทางด้านนวด หรือผู้ป่วยที่มีอาการเกี่ยวกับเส้น เกี่ยวกับลมในกาย ติดต่อสอบถาม ปรึกษาในอาการต่างๆได้  ถึงจะไม่ได้นวดด้วยกันก็ไม่เป็นไร เป็นอีกมุมหนึ่งของการนวดที่จะช่วยเติมเต็มให้การนวดบำบัดของแต่ละท่าน มีอานุภาพมากขึ้น ลองพิจราณาตาม ในสิ่งที่ผมจะทยอยเรียบเรียงแล้วนำเสนอออกไปครับ

     ธิติ ศุภโชติการกุล  086-775-7333   Dtac  
                      083-046-7409   True Move H
                            line id แอด thiti2560

                   FaceBook  Thiti Suppachokkarnkul

วันศุกร์ที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2560

พลังงานที่มากระแทกร่างกายแล้วไปไหน ( ตอน 6 )

พลังงานที่มากระแทกร่างกายแล้วไปไหน ( ตอน 6 ) 

ตัวร้อนแต่ไม่มีไข้
สงสัยไหมว่า เวลาที่เรามีความรู้สึกอึดอัดร่างกาย มีความรู้สึกว่าตัวเรามีความร้อนผ่าวๆอยู่ภายใน ทั่วผิวกายร้อน จนในบางครั้งคนที่อยู่รอบข้างยังมีความรู้สึกเลยว่าร่างกายเรานี้ร้อนกว่าปกติ แต่เมื่อเราไปพบแพทย์ เมื่อวัดอุณหภูมิของร่างกายปรากฏว่า ร่างกายปกติ ไม่มีไข้
… ทำไมถึงเป็นเช่นนี้
…. แล้วเราจะทำอย่างไร
เราเคยเห็น นก ที่หลงบินเข้าไปในห้องกระจกใสๆ บานประตูหน้าต่างในห้องเป็นกระจกใสทั้งหมด มีอยู่เพียงบานเดียวเท่านั้นที่ไม่ได้ใส่กระจกเอาไว้
รอบๆบ้านเป็นต้นไม้ ถ้านกตัวนั้นมองผ่านประตูหรือหน้าต่างออกไปแล้วเห็นต้นไม้ที่อยู่นอกบ้าน และนกตัวนั้นจะบินออกจากบ้านเพื่อไปที่ต้นไม้ จะเกิดอะไรขึ้นกับนก
1. ถ้าบินตรงไปที่ประตูหรือหน้าต่างที่ไม่ได้ใส่กระจกใส ก็จะไม่เกิดปะทะ ออกไปได้โดยสวัสดิภาพ
2. ถ้าบินตรงไปที่ประตูหรือหน้าต่างที่ใส่กระจกใส นกก็บินชนกระจก มีพลังงานที่เกิดจากการปะทะเกิดขึ้น แล้วถ้านกตัวนั้นยังคงบินซ้ำแล้วซ้ำเล่าเพื่อที่จะออกไปข้างนอกในบานหน้าต่างที่มีกระจกใส ผลก็คือเกิดพลังงานสะสมเพิ่มขึ้นมาเรื่อยๆ
ร่างกายเราก็เหมือนกัน ในกรณีที่รูขุมขนเราเปิด-ปิดได้ตามปกติ ก็เหมือนบานประตูหน้าต่างที่ไม่ได้ใส่กระจกใส คือการที่ลมไหลเวียนเข้าและออกร่างกายตามรูขุมขนอยู่ในสภาวะปกติ เราก็จะมีความเบา สบายร่างกาย
แต่ถ้าวันใดวันหนึ่งที่รูขุมขนเราเปิดปิดไม่เป็นปกติ รูขุมขนปิด คือทั้งลมและเหงื่อไม่สามารถซึมไหลผ่านรูขุมขนไปได้ ก็เหมือนบานประตูหน้าต่างที่ใส่กระจกใส
เมื่อลมไม่สามารถออกตามรูขุมขนได้ พลังงานต่างๆที่อยู่ภายใต้ผิวหนังก็ไม่สามารถเคลื่อนออกนอกกายได้ ความแออัดของพลังงานที่อยู่ใต้ผิวหนังนั้น ธาตุลมขัด ธาตุไฟจึงกำเริบ จึงเป็นเหตุให้เรามีความรู้สึกว่า ในกายเราร้อนขึ้น บางครั้งก็ร้อนวูบวาบ บางครั้งก็ย้ายจุดที่ร้อนจากที่หนึ่งไปอีกที่หนึ่ง บางครั้งก็ปวดแสบปวดร้อน
แต่ไม่ว่าจะกรณีใดๆ เมื่อเราใช้ปรอทวัดไข้ลองวัดอุณหภูมิร่างกาย ณ.ขณะนั้น และทุกครั้งก็จะมีผลเหมือนกันคือ ไม่มีไข้ เพราะเครื่องมือทางวิทยาศาสตร์ไม่สามารถตรวจวัดพลังงานนี้ได้
และเมื่อเราทำการนวดไล่ลม ทำให้ลมไหลออกนอกกายตามทวารต่างๆ ข้อกระดูกต่างๆ ตามรูขุมขนทั่วแนวเส้นทั้งร่างกาย เมื่อลมไหลออกนอกกายได้ ลมก็จะนำพาพลังงานที่สั่งสมอยู่ใต้ชั้นผิวหนังออกไปตามรูขุมขนที่เปิด ธาตุไฟที่กำเริบขึ้นมาก็ดับลงไปในขณะเวลาที่นวดนั้นเอง อาการตัวร้อนลุ่มตลอดเวลาก็จะหายไป

วันพุธที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2560

พลังงานที่มากระแทกร่างกายแล้วไปไหน ( ตอน 5 )

พลังงานที่มากระแทกร่างกายแล้วไปไหน ( ตอน 5 )

    สำหรับตอนนี้จะขอกล่าวถึงพลังงานที่จะเข้ามาสู่ร่างกายเรา ปกติแล้วมี 2ทาง คือ
1พลังงานที่สั่งสมเข้ามาในร่างกาย เข้ามาวันละนิดวันละหน่อย เข้ามาจากการที่เรามีกิจกรรมการขยับเคลื่อนไหวอวัยวะต่างๆ  ก็มีผลทำให้เกิดการสั่งสมพลังงานเข้ามาในร่างกายได้
    -  เรายืนมา เดินมาก ขับรถ ก็เป็นกิจวัตรประจำวัน สั่งสมพลังงานจากฝ่าเท้าขึ้นมาลำตัว จนถึงศรีษะ
    - เราใช้มือ ใช้แขน ในการทำงาน ยกของ ทำครัว ทำสวน ซักผ้า รีดผ้า ทำความสะอาดบ้าน เล่นกีฬา เล่นดนตรี ใช้งานคอมพิวเตอร์ สั่งสมพลังงานจากด้านบนคือ คอ-บ่า-ไหล่  แล้วคล่อยๆเคลื่อนมาที่หลัง เอว ขา ตามลำดับ
   - แม้กระทั่งการที่เราเครียด การนอนพักผ่อนไม่เพียงพอ การที่อากาศเปลี่ยนแปลงเดี๋ยวเย็นเดี๋ยวร้อน
                ฯลฯ

         เมื่อเราทำกิจกรรมนั้นจนเมื่อยล้า ไม่เพียงแต่จะมีผลต่อกล้ามเนื้อที่ตึงขึ้นเท่านั้น ยังมีผลถึงพลังงานที่เราสั่งสม อัดสะสมเข้าไปในร่างกายตามอวัยวะต่างๆ ตัวอย่างเช่นถ้าเรายืนมากๆ  เดินมากๆ เราจะเริ่มมีอาการที่เท้า จากนั้นก็จะมีอาการบริเวณน่อง ขาด้านหลังท่อนบน แนวเอว แนวเส้นในแนวข้างกระดูกสันหลัง  มีอาการลมแน่นท้อง มีอาการหลังค่อม มึนหน้าผาก เพราะพลังงานที่สั่งสมเข้ามาจะค่อยๆเพิ่มขึ้น เราก็จะมีความรู้สึกว่าแน่น ตึงไปหมด ทำให้เราเรียกอาการนี้ว่าเส้นตึง
 2 การสั่งสมพลังงานเข้ามาในร่างกายโดยเกิดจากเหตุการณ์ไม่ปกติ การที่ร่างกายโดยกระทบจากวัตถุ หรือพลังงานภายนอก เป็นการกระแทกเข้ามา บางครั้งก็เกิดจากการประสบอุบัติเหตุ รถชน กระโดดจากที่สูง ศีรษะกระแทกเพดานปูน แขนกระชาก ขาพลิกขาแพลง  ทำให้ร่างกายเกิดอาการบาดเจ็บเรื้อรัง ปวดแขน ปวดขา ปวดเข่า  ปวดหลัง ปวดมึนศีรษะ

        การสั่งสมพลังงานถ้าเกิดขึ้นเรื้อรัง ทำให้กล้ามเนื้อบาดเจ็บร่างกายจะสร้างพังผืดมาป้องกัน กล้ามเนื้อไม่ให้บาดเจ็บมากขึ้น พังผืดจะอยู่คลุมกล้ามเนื้อไว้ ทำให้การขยับของกล้ามเนื้อไม่ดีเท่าเมื่อก่อน ตามข้อต่างๆก็ขยับได้ไม่ดี ดังนั้นถ้าเราคลึงบริเวณกล้ามเนื้อที่มีพังผืดคลุมอยู่ เลือดแดงจะนำอาหารและออกซิเจนเข้าให้เซลล์กล้ามเนื้อ ไปคลายชั้นพังผืดให้บางลง และนำของเสียในเซลล์ และคาร์บอนไดออกไซด์ออกมากับเลือดดำ
         ส่วนการนวดไล่ลมก็จะช่วยเปิดรูขุมขน ตามแนวเส้นที่เรากดนวดลงไป เพื่อเปิดทางให้ลมไหลออกนอกกายได้ และลมที่ไหลออกนอกกายนั้นก็จะหน่วงนำเอาพลังงานที่สั่งสมนั้นออกไปด้วย ลมที่วิ่งออกตามรูขุมขนยิ่งร้อนมากขึ้นเท่าไร ก็ยิ่งมีกำลังที่จะนำพลังงานที่สั่งสมอยู่ภายในกายออกได้มากขึ้นเท่านั้น

          อาการบาดเจ็บที่เรื้อรังก็จะทุเลาลง และก็จะหายไปในที่สุด

วันศุกร์ที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2560

พลังงานที่มากระแทกร่างกายแล้วไปไหน ( ตอน 4 )

พลังงานที่มากระแทกร่างกายแล้วไปไหน ( ตอน 4 )

    เราเคยสังเกตไหมว่า เวลาที่เราไปนวดและเมื่อนวดกดลงบนบ่า เราจะมีความรู้สึกว่าบ่าเราเบาขึ้น แต่เราจะรู้สึกว่าจะรู้สึกเมื่อยหลัง เมื่อยเอว ขึ้นมาทันที บางคนอาจปวดร้าวลงมาถึงขา ถึงนิ้วก้อยเท้า
     การที่อาการปวดเมื่อยที่บ่าดีขึ้น แต่ความปวด ความเมื่อยกลับเคลื่อนหนีลงไปที่ด้านล่างลำตัว เป็นการเคลื่อนตัวของพลังงานลงมาตามแนวเส้นเท่านั้นเอง
     การเจ็บป่วยในแนวเส้น จริงๆแล้วก็คือการที่เลือดและลมไหลเวียนได้ไม่ปกติ การที่เรานวด คลึงกล้ามเนื้อบริเวณแนวเส้นก็เป็นการช่วยทำให้กล้ามเนื้อคลายจากการหดตัว และช่วยสลายพังผืดที่ยึดกล้ามเนื้ออยู่ ช่วยให้เลือดไหลเวียนได้ดีขึ้น ส่วนในเรื่องการไหลเวียนของลมนั้น การบำบัดส่วนมาก ยังจัดการไม่ได้กับการที่จะทำให้ลมไหลเวียนออกนอกกาย ส่วนมากทำให้ลมเคลื่อนตัวได้เหมือนกัน แต่เป็นการเคลื่อนตัวของลม ย้ายจากตำแหน่งหนึ่งที่มีความดันของลมที่มากกว่า ณ.เวลานั้น ไปอีกตำแหน่งหนึ่งที่มีความดันของลมที่น้อยกว่า ดังนั้นพลังงานที่ไม่ได้เคลื่อนออกนอกกายจึงจะยังเคลื่อนที่ต่อ จะเคลื่อนไปยังแนวที่มีความดันของลมที่หนาแน่นน้อยกว่า วนเวียนไปอย่างนี้ไม่จบไม่สิ้น
      ดังนั้นหลังจากที่บ่าเรามีอาการเบาลงไป2-3วัน พลังงานที่เคลื่อนหนีลงไปอัดแน่นที่หลังและเอว ก็จะไหลย้อนกลับมาที่บ่าที่มีความดันของพลังงานน้อยกว่า เราจึงมีอาการปวดที่คอบ่าไหลกลับมาอีก เราจึงต้องไปนวดซ้ำอีก หลายครั้งหลายหน อาการก็จะเป็นแบบนี้ตลอด ทั้งนี้เพราะเราไม่สามารถนำพาพลังงานที่สั่งสมอยู่นี้ออกจากแนวเส้นไปได้ จนถึงวันที่เราสามารถบำบัดให้ลมเคลื่อนออกตามรูขุมขนได้ พลังงานที่คั่งค้าง อัดอยู่ในแนวเส้นนี้ก็จะไหลตามลมที่ไหลออกไป แค่นั้นเอง
    

   สรุปว่าถ้าลมไหลเวียนออกนอกกายตามรูขุมขน ตามข้อ ตามทวารต่างๆได้ ลมจะเป็นพาหนะนำพาพลังงานที่ร่างกายได้รับมาจากการกระแทก หรือแม้แต่แค่การที่เรายกของแล้วมีอาการปวดหลังปวดเอว พลังงานที่เคลื่อนย้ายไปมาในร่างกายเรานี้ จะไหลออกไปกับลมที่เคลื่อนออกไปจากกาย การนวดกดไล่ลมในแนวเส้นขาด้านใน ( ท่านอนตะแคง ) จะช่วยทำให้ลมเคลื่อนตัวได้ ในที่สุดก็จะทำให้เราเบาโล่งอย่างไม่เคยเป็นมาก่อน 
 

พลังงานที่มากระแทกร่างกายแล้วไปไหน ( ตอน 3 )

พลังงานที่มากระแทกร่างกายแล้วไปไหน ( ตอน 3 )

    ที่ได้กล่าวไว้ว่า เมื่อร่างกายเรา หรืออวัยวะในร่างกายเราโดนชนหรือโดนกระแทกจากวัตถุ พลังงานที่กระแทกเข้ามา ก็จะซึมซับเข้ามาตรงบริเวณจุดที่ปะทะ อาการบาดเจ็บของกล้ามเนื้อ หรือการอักเสบต่างๆเราสามารถรักษาให้หายได้จากการรักษาด้วยยา และการหยุดการใช้งานชั่วคราวของกล้ามเนื้ออวัยวะนั้นๆ แต่พลังงานหรือแรงที่ปะทะเข้ามาในกายเราไม่สามารถที่จะขับให้ออกมาได้ จนกว่าเราจะสามารถบำบัดจนทำให้ลม สามารถไหลออกได้บริเวณรูขุมขนของกล้ามเนื้อของอวัยวะนั้นๆที่เคยโดนกระแทก เป็นการปลดปล่อยพลังงานนี้ออกมา
      มีกรณีตัวอย่าง ที่เป็นเหมือนหลักฐานเกี่ยวกับการรักษาอาการบาดเจ็บจากการประสบอุบัติเหตุ หลายกรรมหลายวาระ แต่ละครั้งของอุบัติเหตุก็เก็บพลังงานที่กระแทกเข้ามา เมื่อไรที่เราทำให้ลมไหลออกนอกร่างกายได้ ลมก็จะลาก พาพลังงาน ( เจ้ากรรมนายเวรนั้นๆ ) ออกไปตามรูขุมขน ออกไปตามข้อต่างๆ  ออกไปตามทวารต่างๆ  
      คุณชล อยู่พุทธมณฑล สาย3 เป็นผู้ป่วยที่มีอาการป่วยเกี่ยวกับเส้น เกี่ยวกับเลือดลม มาจากการเกิดอุบัติเหตุ ซ้ำซ้อน หลายกรรมหลายวาระ ได้นวดบำบัดอาการที่เกิดจากอุบัติเหตุทางรถยนต์เมื่อ10กว่าปีที่แล้ว โดยศีรษะกระแทกกระจกหน้ารถอย่างแรง การบาดเจ็บครั้งนั้นทำให้มีอาการปวดตึงตามแนวเส้นตลอดแนวซีกขวาตั้งแต่ศีรษะจรดปลายเท้า สำหรับกรณีนี้ได้มีการบำบัดมาต่อเนื่องประมาณ2-3ปี จนในปัจจุบันนี้อาการปวดตึงตามแนวเส้นตลอดซีกขวาก็ได้หายไป

      ที่จะนำมากล่าวในตอนนี้ เป็นกรณีอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นกับคุณชล เมื่อประมาณ5-6ปีที่แล้ว เป็นกรณีที่ทำให้เห็นที่มาที่ไปของพลังงานที่กระแทก และการคลายตัวออกมาของพลังงานนั้น
       ประมาณปี 2558 หลังจากที่นวดบำบัดคุณชลได้ประมาณ3ปี จากอุบัติเหตุศีรษะกระแทกกระจก จนอาการของซีกขวาทุเลาลงเรื่อยๆ จนในเช้าวันหนึ่งคุณชลแจ้งว่า มีอาการปวดตุ๊บๆ บริเวณหน้าผากด้านซ้าย ทั้งๆที่เมื่อวานยังปกติ ไม่มีอาการปวดตึงอะไร
     จึงบอกให้รอดูหนึ่งวัน อาจจะถึงเวลาที่จะต้องนวดซ้ำ เนื่องจากอาการบาดเจ็บต่างๆที่เก็บอยู่ด้านล่างผิวอาจจะคลายตัวขึ้นมาเต็มใต้ผิวกายแล้ว คุณชลก็รอดูอาการจนถึงวันรุ่งขึ้นปรากฏว่า หลังจากหลับไปหนึ่งคืนอาการปวดตุ๊บๆนั้นหายไป
      คุณชลได้บอกว่า เมื่อ3ปีก่อน ได้เกิดอุบัติเหตุบริเวณหน้าผากด้านซ้ายตรงที่มีอาการปวดนี้ วันนั้นได้เอื้อมมือไปหยิบของบนหลังตู้ แล้วไปคว้าโดนพระเรซิ่น ทำหล่นใส่กลางหน้าผากข้างซ้ายนี้ ( บริเวณเดียวกันกับที่ปวดเมื่อวาน ) เลือดกระฉูด หน้าผากโนขึ้น รักษาอาการบาดเจ็บกับโรงพยาบาลประมาณ1เดือน บาดแผลก็หายเป็นปกติ แต่อุบัติเหตุครั้งนี้มีอาการคันใต้ผิวหนังบริเวณรอยที่โดนกระแทก เป็นอาการคันยิบยับ เหมือนมดไต่ มีอาการคันมาตลอดหลังจากที่แผลหาย ประมาณ3ปี จะทำอย่างไร ทายาอะไรอาการคันก็ไม่หาย
       แต่ในเช้าวันนั้น ตื่นมาอาการปวดตุ๊บๆหายไป และอาการคันเหมือนมดไต่ใต้ผิวหนังก็หายไปด้วย จนถึงปัจจุบันนี้อาการคันใต้ผิวบริเวณที่โดนกระแทกก็ไม่มีอีกเลย
      
กรณีนี้จึงเป็นภาพเหตุการณ์ที่บอกให้รู้ ที่มาที่ไปของอาการ และที่มาที่ไปของแรงที่กระแทกเข้าร่างกายอย่างชัดเจน อาการคันเหมือนมดไต่ใต้ผิวหนังเกิดขึ้นตลอด3ปีหลังจากบาดแผลได้รับการรักษาด้วยยา จนเห็นว่าหายเป็นปกติ อาการคันนี้เป็นหลักฐาน เป็นร่องรอยที่หลงเหลือหลังจากการที่เรารักษาอาการบาดเจ็บแล้วเราไม่ได้คลายพลังงานนั้นออกมา การนวดไล่ลมที่เปิดรูขุมขนบริเวณนั้นได้ เป็นคำตอบ

อาการที่ปวดขึ้นมาภายใน1วัน ในบริเวณเดียวกันนี้ ก็คือการคลายพลังงานที่กระแทกเข้าไปเมื่อ3ปีที่แล้วออกมา


ในวันรุ่งขึ้น การตื่นขึ้นมา พร้อมกับอาการปวดตุ๊บๆหายไป พร้อมกับอาการคันเหมือนมดไต่ใต้ผิวหนังบริเวณที่โดนกระแทก ที่เป็นมาตลอด3ปี ก็หายไปด้วยกัน ทั้งหมดนี้จึงเป็นเรื่องเดียวกัน เป็นกรรมเดียวกัน

พลังงานที่มากระทบร่างกายแล้วไปไหน ( ตอน2 )

  พลังงานที่มากระทบร่างกายแล้วไปไหน ( ตอน2 )


นาย ก. กระโดดลงมาจากกำแพง
นาย ข. กระโดด คว่ำหน้า ให้ลำตัวกับท้องปะทะกับผิวน้ำ
นาย ค. เดินไปข้างหน้า แล้วมีลมแผ่วๆ มาปะทะร่างกาย
และ นาย ง. เดินไปข้างหน้า แล้วมีลูกฟุตบอลพุ่งเข้ามาที่ท้องอย่างเต็มแรง

        ถ้าจะวิเคราะห์อาการบาดเจ็บของคนแต่ละคนก็คือ
  นาย ก. มีอาการบาดเจ็บ เนื่องจากแรงที่สะเทือนขึ้นมาตามท่อนขา จะปวดเข่า จนถึงปวดหลัง
  นาย ข. บาดเจ็บ จุกตามลำตัวเนื่องจากลำตัวปะทะกับผิวน้ำ
  นาย ค. ไม่มีอาการบาดเจ็บ
  นาย ง.  บาดเจ็บ จุกที่ท้อง เพราะโดนลูกฟุตบอลพุ่งเข้าใส่ท้อง
       การบาดเจ็บจากการที่โดดลงน้ำแล้วลำตัวปะทะกับผิวน้ำ หรือการบาดเจ็บจากการที่โดนลูกฟุตบอลพุ่งใส่ท้อง ทั้ง 2ตัวอย่างนี้ไม่ได้เกิดแค่บาดแผล หรือแค่รอยฟกช้ำเท่านั้น การบาดเจ็บในลักษณะนี้เมื่อมีแรงมาปะทะ  แล้วร่างกายเราได้รับแรงปะทะ แล้วซึมซับแรงปะทะ เข้าไปในอวัยวะนั้นๆ  เก็บเข้าไปซ้ำแล้วซ้ำเล่า โดยที่ไม่มีการผองถ่ายแรงที่ปะทะนั้นออกมาเลย
     
      ลองดูตัวอย่างจริงๆ  นักกีฬาแบดมินตัน ที่กระโดดตบบ่อยๆ อาการป่วยส่วนมากที่เจอก็คือ เข่ามีปัญหา เส้นขาตึง นั่งขัดสมาธิไม่ได้ เนื่องจากการที่เรากระโดดบ่อย น้ำหนักตัวก็จะทิ้งลงมาที่ขาและเข่าตามแรงโน้มถ่วง เมื่อฝ่าเท้าแตะพื้นแรงปะทะก็จะสะท้อนกลับเข้าไปที่ท่อนขา และข้อเข่า เป็นซ้ำแล้วซ้ำเล่า
      หรือการที่เรากระโดดลงมาจากต้นไม้ หรือกระโดดลงมาจากกำแพง เมื่อขาแตะถึงพื้น เคยมีอาการปวดขา ปวดเข่า ปวดหลังหรือไม่
  ที่เกริ่นมาให้ดูนี้เพื่อชี้ให้เห็นว่า แรงที่ปะทะ วิ่งสวนตรงเข้ามาในร่างกาย เราจะเอาออกได้อย่างไร  เราสามารถรักษาอาการบาดเจ็บกล้ามเนื้อ อาการฟกช้ำสักระยะหนึ่งก็หายไปได้ ถ้าเราเอาแรงที่มาปะทะออกไม่ได้ จะมีผลกระทบอะไรกับร่างกาย และสุดท้ายการนวดไล่ลมช่วยได้อย่างไร