วันพฤหัสบดีที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

ความตึงภายในแนวเส้น

ความตึงภายในแนวเส้น
   ความตึงภายในแนวเส้น เป็นเรื่องละเอียดอ่อน เป็นนามธรรม อธิบายยาก คงต้องยกตัวอย่างเปรียบเทียบกับสิ่งของที่เราเห็นอยู่ตามธรรมชาติ เช่น สายประคำเส้นหนึ่ง เมื่อเราเข้าใจว่าทำไมสายประคำ ที่มีลูกประคำเรียงร้อยอยู่ เมื่อมีแรงมากระทบ จะทำให้การเรียงตัวของลูกประคำเปลี่ยนไป จนทำให้รูปลักษณ์ของเส้นสายที่เรียงร้อยลูกประคำอยู่นั้นเปลี่ยนแปลงไป
    เมื่อเรานำสายประคำเส้นเดียวกันนี้ ตัดให้ขาดจากเส้นวงกลม ยืดสายประคำให้เป็นเส้นตรง สายประคำปลายข้างหนึ่งผูกปลาย สายอีกข้างหนึ่งปล่อยชาย เหลือเชือกที่ไม่ได้ร้อยลูกประคำ
        เปรียบสายที่เรียงร้อยลูกประคำเป็นแนวกระดูกสันหลังที่อยู่ในแนวปกติ
        ส่วนลูกประคำให้เปรียบเสมือนกระดูกสันหลัง
         ช่องว่างระหว่างลูกประคำ ก็เปรียบเสมือนแนวหมอนรองกระดูก
   ในสภาวะปกติ เชือกที่เรียงร้อยอยู่ในแนวเส้นตรงก็คือความตึงของสายที่ใช้ร้อยลูกประคำมีค่าเป็นศูนย์  วันใดวันหนึ่งถ้าเราดึงแนวเชือกที่ตรงอยู่นี้ให้โค้งงอ ก็จะทำให้แนวเชือกกลายเป็นเส้นโค้ง ลูกประคำก็จะเบียดกันมากขึ้น ถ้าเราไม่คลายแรงดึงออกไป แนวของสายประคำที่โค้งอยู่ก็จะคงสภาพนั้น และจะโค้งเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ
     สำหรับอาการตึงของเส้นนั้น ก็คือพลังงาน เมื่อร่างกายบาดเจ็บ
ลมขัดอยู่ในแนวนั้น ถ้าเราไม่บำบัดให้อาการขัดของลมคลายตัวออกไป ก็จะเก็บสะสมอยู่ตามแนวอาการ จนบางครั้งทำให้เกิดอาการตึง เมื่อยล้า ปวดแสบปวดร้อน กลไกของร่างกายจะสร้างพังผืดมาคลุมกล้ามเนื้อบริเวณนั้นๆ และการที่มีอาการบาดเจ็บเรื้อรังพังผืดก็จะเพิ่มหนาขึ้นเรื่อย พังผืดที่เกาะบริเวณข้อกระดูกยิ่งหนาขึ้นก็จะทำให้การขยับข้อไม่ดี เหมือนการที่เราสวมกางเกงขายาว10ตัว เดินขึ้นบันได จะเมื่อยและลำบากมากในการก้าวเดิน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น