วันพุธที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2561

ลมกับพลังงาน ( ตอน 9.4 )

ลมกับพลังงาน ( ตอน 9.4 )
หัวใจเต้นผิดจังหวะ

       เมื่อวานนี้ได้นัดนวดผู้ป่วย เป็นผู้หญิงคนหนึ่ง ผู้ป่วยอยู่แถวพุทธมณฑลสาย4 อาการป่วยเบื้องต้นที่เคยคุยไว้คือ มีอาการเรอบ่อย ได้รักษาอาการป่วยนี้มาประมาณ1ปีแล้ว ไปตรวจรักษาที่โรงพยาบาลมาแล้ว และออกกำลังกายด้วยการเล่นโยคะ  จนปัจจุบันนี้อาการเรอก็ยังมีอยู่
       ที่ผ่านมาเคยมีอาการตัวบวมตึง ตัวบวมไปด้วยลม แต่น้ำหนักไม่ขึ้น 
       จะมีอาการร้อนอยู่ภายในกาย ลมเคลื่อนไปมาในร่างกาย มีอาการร้อนวูบวาบในกายนี้เมื่อวัดปรอทวัดไข้ ก็ไม่มีไข้
        เวลาอยู่ในที่ๆอากาศเย็น ( ในห้องแอร์ ) แล้วออกไปในที่ๆมีแดดร้อนๆ จะมีอาการมึน   ปวดศรีษะ
       อาการตาพร่ามัว
       เวลาทานอาหาร จะกลืนอาหารไม่ค่อยลง และหายใจลำบาก สูดลมหายใจได้ไม่ลึก หายใจไม่ทั่วท้อง
       ทานอาหารแล้วไม่ย่อย  เคยมีอาการกรดไหลย้อน
       ปัสสาวะบ่อยๆ กะปริบกะปรอย ปัสสาวะไม่สุด
       มีอาการหน้าท้องโตแต่ไม่ได้ตั้งครรภ์
      และอาการสำคัญอีกอย่างหนึ่งก็คือเหนื่อยง่าย หายใจลำบาก ซึ่งอาการเหนื่อยง่ายนี้ ก็ได้ไปตรวจรักษาที่โรงพยาบาลแล้ว แต่ตรวจหาสาเหตุของอาการไม่ได้ ทางกายภาพแล้วหัวใจ กล้ามเนื้อหัวใจก็ยังปกติ ทำงานได้ตามปกติ ล่าสุดมีอาการแพทย์แจ้งว่า หัวใจเต้นผิดจังหวะ

          บำบัดโดยทำการกดนวดไล่ลม ที่ขาท่อนบน ท่านอนคว่ำ ( เส้นหลัง ) ท่านอนตะแคง ( เส้นข้างขาด้านใน ) ท่านอนหงาย ( เส้นหน้าขา )
       นวดท่านั่ง ( แนวเส้นระหว่างร่องสะบัก-กระดูกสันหลัง และแนวเส้นบ่า เส้นคอ และนวดไล่ขึ้นไปที่ศีรษะ )
            เมื่อเริ่มต้นนวดท่านอนคว่ำ ผู้ป่วยก็มีการเรอออกมาตลอดเวลาที่กดนวด และเมื่อนวดไประยะหนึ่งเริ่มมีลมร้อน วิ่งไหลออกที่ข้อหัวเข่า ข้อเท้า และวิ่งร้อนออกปลายเท้า ขณะที่ลมวิ่งร้อนออกที่หัวเข่า อาการตัวร้อนผ่าวๆ ก็ค่อยๆดับลงไปเรื่อยๆ จนเมื่อลมร้อนวิ่งออกที่ข้อเท้า ที่ปลายเท้า อาการตัวร้อนแต่ไม่มีไข้ก็ดับหายไปเอง
           อาการตาพร่ามัวก็หายไป อาการลมแน่นท้อง อาการช่องท้องบวมโตก็นิ่มลงมา  การหายใจของผู้ป่วยก็เบาสบายขึ้น หายใจได้ลึก และที่สำคัญคืออาการเหนื่อยหายไป

           ทั้งนี้เนื่องจาก พลังงานที่สั่งสมอยู่ในกาย ไม่สามารถไหลเวียนออกนอกร่างกายได้ พลังงานสั่งสมตามแนวเส้น ที่ศีรษะ ที่ช่องท้อง เมื่อเราทำการกดนวดที่ขาท่อนบน ลมที่อยู่บริเวณแนวเส้นขาท่อนบน ขาท่อนล่าง จะไหลเวียนออกนอกร่างกายได้ดีขึ้น ตามลำดับ เมื่อลมไหลออกนอกร่างกายได้ ลมก็จะนำพาพลังงานที่สั่งสม แล้วไปกดทับอวัยวะต่างๆ
          ทำให้พลังงานคลายความหนาแน่นลง จึงคลายการกดทับไปที่อวัยวะ จนทำให้อวัยวะต่างๆตามแนวเส้น ที่กระโหลกศีรษะ ที่ช่องท้อง เริ่มกลับมาทำงานได้ตามปกติ อาการเรื้อรังต่างๆ ก็จะค่อยๆดีขึ้น และหายไปในที่สุด

            หัวใจก็เช่นกัน หัวใจอยู่ในช่องท้อง ลมที่สั่งสมมากอยู่ในช่องท้อง ไปกดทับอวัยวะทุกๆอย่างในช่องท้อง หัวใจเราก็โดนกดทับด้วย ทำให้หัวใจ บีบตัวแล้ว คลายตัวไม่ออก จึงทำให้เราเหนื่อยง่าย
             ปอดก็เหมือนกัน เมื่อปอดหดตัว แล้วขยายตัวขึ้นมาไม่ได้เท่าเดิม ไม่เต็มที่ การหายใจเข้าก็จะนำก๊าซออกซิเจนเข้ามาได้น้อยกว่าปกติ
             หลังจากที่กดนวดไล่ลมเสร็จแล้ว ปรากฎว่า อาการเหนื่อยหายไป หายใจได้ลึกขึ้น จึงอธิบายได้ว่า เมื่อเราทำให้ลม สามารถไหลเวียนออกนอกร่างกายได้ ลมจะนำพาพลังงานที่สั่งสมอยู่ในร่างกาย ในอวัยวะ ในช่องท้อง ทำให้พลังงานนั้นๆไหลออกนอกร่างกายตามรูขุมขน ตามข้อกระดูก
          อวัยวะเมื่อไม่ถูกพลังงานเข้ามาบีบรัด กดทับ ก็กลับมาทำงานได้ตามปกติ อาการป่วยไข้ก็หายไปเอง
                                 
                                    31 ตุลาคม 2561                                                     

วันศุกร์ที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2561

ลมกับพลังงาน ( 9.3 )

ลมกับพลังงาน  ( 9.3 )
เคี้ยวอาหารไม่ได้

         ลมและพลังงาน เมื่อสั่งสมอยู่ณ.ที่ใดในร่างกายคนเรา ตามอวัยวะต่าง ย่อมส่งผลกระทบต่อการทำงานของอวัยวะนั้นๆ
          พี่สาวของผม เมื่อหลายวันก่อนมีอาการเคี้ยวอาหารไม่ได้ มีอาการที่กระบอกตา ตึงเกร็ง อาการนี้เพิ่งเกิดขึ้นใหม่ หลังจากที่เมื่อก่อนก็เคยมีอาการกลืนอาหารไม่ได้ กลืนน้ำลายไม่ลง หายใจลำบาก
         อาการที่เกิดขึ้นนี้ หลังจากที่กดนวดไล่ลมแล้ว ในท่านอนคว่ำ กดที่ต้นขาด้านหลัง บริเวณก้นย้อย และท่านอนตะแคง กดที่ต้นขา เส้นข้างขาด้านใน คือให้ลมไหลร้อนออกข้อกระดูกเข่า ข้อกระดูกเท้า จนลมร้อนวิ่งไหลออกปลายเท้า
        เมื่อกดนวดไล่ลมไประยะหนึ่ง ปรากฏว่า มีลมไหลออกที่ปาก

           แรงกดนวดไล่ลมที่ขาท่อนบน ก็จะเริ่มกระทุ้งดันขึ้นส่วนบนของร่างกาย ทำให้แนวกระเบนเหน็บ เอว แนวหลัง เบาลง
           แรงที่กดนวดไล่ลมที่ขาท่อนบน ยังคงทำให้ลมร้อนไหลออกปลายเท้า และค่อยกระทุ้งการไหลเวียนของลมและพลังงานบริเวณส่วนบนของร่างกาย ไปกระทุ้งลมและพลังงานที่ขัดอยู่บริเวณบ่า ศรีษะ ทำให้ลมที่คั่งค้างอยู่ในลำคอ กะโหลกศรีษะ ได้เคลื่อนไหลออกนอกร่างกายเราได้
           
           อาการหลายๆอาการเช่น ลมออกหู ขัดๆเคืองๆที่กระบอกตา อาการภูมิแพ้หายใจไม่สะดวก การกลืนอาหารไม่ลง กลืนน้ำลายไม่ลงคอ อาการเกร็งค้างที่กราม อาการปวดมึนศรีษะ
         อาการเหล่านี้ล้วนเกิดมาจากการที่ลมและพลังงานไหลเวียนออกนอกร่างกายไม่ได้ พลังงานจึงไปกดทับอวัยวะ ทำให้การทำงานอวัยวะด้อยลง ถ้าเราทำให้ลมเคลื่อนไหลออกนอกร่างกายได้ตามทวาร ออกที่ปาก ออกที่ทวารหนัก ออกที่ทวารเบา ( ช่องคลอด ) ออกที่ตา ออกที่หู ออกตามข้อกระดูก และทำให้ลมเคลื่อนไหลออกตามรูขุมขนทั่วร่างกายได้ พลังงานที่เคยสั่งสมอยู่ ก็จะไหลตามออกไปด้วย อาการเรื้อรังต่างๆก็จะคลาย แล้วหายไป ในที่สุด
         หลังจากที่กดนวดให้พี่สาวไปแล้ว มีลมไหลออกที่ปาก อาการเคี้ยวอาหารไม่ได้มาหลายวันก็หายไป อาการกระบอกตาตึง เกร็ง เบาลงไปเล็กน้อย ถ้าเรากดนวดไล่ลมต่อเนื่องอีกระยะหนึ่ง อาการที่เบ้าตาก็จะคลายออกไปเอง 

                                   27 ตุลาคม 2561

วันศุกร์ที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2561

ลมกับพลังงาน ( 9.2 )

ลมกับพลังงาน ( 9.2 )
อาการปวดแปลบเข้าหัวใจ

        มีผู้ป่วยหลายรายที่เคยนวดบำบัดให้ โดยมีอาการเหมือนเป็นโรคหัวใจ อาการเหนื่อยง่าย เวลาขยับจะปวดแปลบเข้ามาที่หัวใจ แต่เมื่อไปตรวจด้วยอุปกรณ์ เครื่องมือทางการแพทย์ MRI ตรวจคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ก็ไม่ปรากฎว่ามีอาการผิดปกติของกล้ามเนื้อหัวใจ
                  ทำไมถึงเป็นเช่นนี้ ..........
         เรากดนวด คลึงที่กล้ามเนื้อ พังผืด ตามแนวเส้น บริเวณร่องกระดูกสันหลังและแนวสะบัก จะทำให้อาการที่เกิดกับหัวใจคลายตัวลง อาการปวดแปลบเข้ามาที่หัวใจ ที่เคยเกิดขึ้นก็จะค่อยๆคลายหายไปเอง ทั้งนี้เนื่องจากแนวเส้นชิดกระดูกสันหลังเกิดการขัดของลม ทำให้เกิดการสั่งสมพลังงาน เมื่อเรากดนวดคลายกล้ามเนื้อ กดลงที่แนวเส้นชิดกระดูกสันหลังบริเวณแนวสะบัก ก็จะทำให้พลังงานที่คั่งค้างอยู่บริเวณท่อนกระดูกสันหลังนั้น คลายออกไปที่ข้อกระดูกสันหลัง ทำให้อาการพองบวม ตึงของแนวเส้นลดลง เมื่ออาการบวม พองของแนวเส้นนี้ลดลงมา แรงกดทับที่เคยกดทับเส้นประสาทไขสันหลังบริเวณช่องอกเบาลง จึงทำให้อาการแปลบที่หัวใจเบาลง และหายไป

        เส้นประสาทไขสันหลัง ออกจากไขสันหลังซึ่งอยู่ในช่องกระดูกสันหลัง ตั้งแต่กระดูกคอ กระดูกส่วนอก และสิ้นสุดที่กระดูกอกส่วนล่าง ทำหน้าที่นำความรู้สึกจากส่วนต่างๆของร่างกาย กลับเข้ามาที่ไขสันหลัง แล้วส่งกลับไปสมอง
       การที่แนวเส้นชิดกระดูกสันหลัง บวมพองขึ้นมา ก็จะไปกดทับเส้นประสาทไขสันหลังส่วนอก ซึ่งนำเอาความรู้สึกของอวัยวะภายในช่องท้อง ให้สะท้อนกลับไปที่สมอง ผ่านทางไขสันหลัง
         อาการแปลบที่เกิดขึ้นกับหัวใจก็เช่นกัน เมื่อเราไปตรวจด้วยอุปกรณ์เครื่องมือทางการแพทย์ ไม่พบว่าเป็นอาการผิดปกติของหัวใจ ของกล้ามเนื้อหัวใจ คลื่นหัวใจปกติ
         แต่เนื่องจากเส้นประสาทไขสันหลังที่นำสัญญาณจากหัวใจ กลับเข้ามาที่ไขสันหลัง โดนแนวเส้นที่พองโตขึ้น มาเบียดมากดทับ เป็นเพราะพลังงานที่สั่งสมอยู่ ไม่คลายตัวออก พลังงานบวมโต พองในแนวเส้น แล้วไปกดทับเส้นประสาทไขสันหลังเส้นนี้ จึงสะท้อนอาการไปที่หัวใจ มีผลทำให้เกิดอาการแปลบขึ้นที่หัวใจ
          เวลาที่เรากดนวด คลึงบริเวณแนวชิดกระดูกสันหลัง ลมที่ขัดอยู่ที่แนวเส้นบริเวณท่อนกระดูกสันหลัง ก็จะคลายตัวไหลออกมาตามข้อกระดูกสันหลังและรูขุมขนบริเวณนั้น จึงทำให้พลังงานไปกดทับเส้นประสาทไขสันหลังลดน้อยลง และค่อยๆหมดไป
          อาการที่แปลบที่หัวใจก็จะหายไปเอง การกดนวดไล่ลม ในท่านอนคว่ำ เราสามารถกระทุ้งทำให้ลมในแนวชิดกระดูกสันหลัง ไหลเวียนออกนอกร่างกายได้ เพราะถ้าเรากดนวดให้ลมและพลังงานไหลร้อนออกที่ข้อเข่า ข้อเท้า ข้อกระดูกเท้า ออกที่ข้อกระดูกกระเบนเหน็บ ข้อกระดูกสันหลัง ออกที่ข้อแขน ข้อมือ ออกที่รอยต่อกะโหลกศรีษะ พลังงานที่สั่งสมอยู่ก็จะค่อยๆคลายตัวออกไปเอง

         อาการเจ็บป่วยสะท้อนของอวัยวะ ที่เส้นประสาทไขสันหลังคู่นั้นๆกำกับอยู่ เมื่อไม่โดนพลังงานไปกดทับ อาการป่วยของอวัยวะนั้นก็จะหายไปเอง

                         22 ตุลาคม 2561

ลมกับพลังงาน ( ตอน 9.1 )

ลมกับพลังงาน ( ตอน 9.1 )
พลังงาน กดทับเส้นประสาทไขสันหลัง

      แนวร่องกระดูกสันหลังฝั่งซ้าย และแนวร่องกระดูกสันหลังฝั่งขวา คือแนวเส้นที่เราใช้ในการกดนวด แนวเส้นนี้พลังงานเริ่มต้นเข้ามาที่ฝ่าเท้า ส้นเท้า น่อง เส้นขาด้านหลังบริเวณก้นย้อย แก้มก้น ก้นกบ ตามแนวเส้นข้างกระดูกสันหลัง ตามแนวร่องสะบักกับกระดูกสันหลัง เส้นคอ ศรีษะ หน้าผาก
    การยืน การเดิน การกระโดด การหกล้มก้นจ้ำเบ้า การหงายหลังหลังฟาดพื้น ล้วนเป็นทิศทางการเข้ามาของพลังงาน ไม่ว่าพลังงานจะเริ่มเข้ามาทางฝ่าเท้า ส้นเท้า ก้นกบ หรือแนวเส้นข้างกระดูกสันหลัง จะเข้ามาที่ตำแหน่งใดก็ตาม เมื่อเข้ามาแล้วจะเก็บสั่งสม และค่อยๆแพร่กระจายไปยังแนวที่ต่อเนื่องกันอยู่  สุดท้ายจะเคลื่อนไปที่ศรีษะ

     แนวเส้นติดกระดูกสันหลังนี้เป็นแนวเส้นที่วิ่งไปตามแนวกระดูกสันหลัง ดังนั้นแนวเส้นนี้จึงมีผลต่ออาการกดทับเส้นประสาทไขสันหลังตลอดทั้งแนว เส้นประสาทไขสันหลังทั้ง31คู่
    บริเวณคอ 8คู่  บริเวณอก 12คู่  บริเวณเอว 5คู่  บริเวณกระเบนเหน็บ 5คู่  บริเวณก้นกบอีก 1คู่ 

      เรารับพลังงานจากด้านล่าง แล้วค่อยๆสั่งสม ดันขึ้นมาที่แนวหลัง พลังงานที่เคลื่อนต่อเนื่องมาจนถึงแนวกระดูกสันหลัง ไปสุดที่แนวไหน ก็จะเก็บสั่งสมพลังงานไว้บริเวณนั้น ทับถมเข้าไป ครั้งแล้วครั้งเล่า

         อย่างที่เคยยกตัวอย่างไว้ ถ้าเรามีอาการปวดไมเกรนที่ข้างซ้าย เส้นคอที่ข้างซ้ายก็จะบวม พอง โตขึ้นมา นั่นคือพลังงานที่สั่งสมเยอะมากจนทำให้แนวเส้นคอด้านซ้ายบวมพองขึ้นมา ในขณะเดียวกันด้านขวาไม่มีอาการไมเกรน แนวเส้นก็เล็กเป็นปกติ
     ดังนั้นพลังงานที่เคลื่อนมาจากด้านล่างฝ่าเท้า จากการกระโดดที่สูงๆ หรือจากการล้มก้นจ้ำเบ้า ก้นกบกระแทกพื้น พลังงานจะเคลื่อนขึ้นไปตามแนวเส้น ไปจนสุดแรง และพลังงานนั้นสั่งสมอยู่ตามแนวเส้นข้างกระดูกสันหลัง อยู่ที่ว่าพลังงานจะไปสุดที่กระดูกสันหลังข้อไหน ก็จะไปกดทับเส้นประสาทไขสันหลังคู่ที่อยู่บริเวณนั้น

         ถ้ากระโดดจากต้นไม้ พลังงานกระทบที่ฝ่าเท้า พลังงานอาจจะขึ้นไปถึงข้อพับหัวเข่า
        ถ้าล้มก้นกระแทก พลังงานกระทบเส้นประสาทไขสันหลังส่วนก้นกบ พลังงานอาจจะสะเทือนไปถึงเส้นประสาทไขสันหลังส่วนอก – ส่วนคอ           
         ถ้ากระโดดจากระเบียงชั้น2  พลังงานกระทบที่ฝ่าเท้า พลังงานอาจจะสะเทือนไปถึงเส้นประสาทไขสันหลังส่วนเอว – ส่วนอก
                ถ้าเราล้มหงายหลัง แผ่นหลังกระแทกพื้นดิน พื้นปูน หรือพื้นน้ำ พลังงานกระทบที่แผ่นหลัง พลังงานอาจจะสะเทือนไปตลอดเส้นประสาทไขสันหลังทั้ง 31คู่ ส่วนก้นกบ –กระเบนเหน็บ - เอว – ส่วนอก -ส่วนคอ

           พลังงานที่สะเทือนเข้ามา จะทำให้แนวเส้นบวม พอง โต ขึ้นมา การที่แนวเส้นพองโตขึ้นมา ก็จะกดทับเส้นประสาทไขสันหลัง ทำให้มีอาการข้างเคียงไปตามอวัยวะที่เส้นประสาทไขสันหลังนั้นๆกำกับอยู่ เช่นถ้ามากดทับเส้นประสาทไขสันหลังส่วนอก ก็จะมีอาการข้างเคียงไปที่อวัยวะในช่องท้อง  ถ้ามากดทับเส้นประสาทไขสันหลังส่วนคอ ก็จะมีอาการข้างเคียงไปที่แขน

            พลังงานที่สะเทือนเข้ามาในร่างกายเรา ก็เหมือนกับระดับน้ำที่ท่วม เอ่อเข้ามาในบ้านคน ถ้าเราไม่พร่องน้ำให้ลดลงไป นานวันเข้า ระดับน้ำก็จะเพิ่มขึ้น และน้ำก็จะเน่าเสีย เป็นคราบตะไคร่น้ำเกาะจนกำแพงเป็นสีเขียว ส่งผลกระทบอย่างอื่นอีกหลายๆอย่าง ถ้าเราทำให้การไหลเวียนของธาตุลมในร่างกายกลับมาเป็นปกติ คือลมสามารถเคลื่อนไหลออกนอกร่างกายเราตามข้อกระดูก ตามรูขุมขนได้ ลมก็จะนำพาพลังงานที่สั่งสมอยู่นั้นออกมาด้วย อาการกดทับเส้นประสาทไขสันหลังก็จะหายไปเอง 
                                                                                   
                                           19 ตุลาคม 2561

วันอังคารที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2561

( ลมกับพลังงาน ตอน 9 )

ลมกับพลังงาน ( ตอน 9 )
เส้นประสาทไขสันหลัง

       เส้นประสาทไขสันหลังคือ เส้นประสาทที่ออกมาจากไขสันหลัง โดยการรวมกันของรากเส้นประสาทด้านหลัง (dorsal root) กับรากเส้นประสาทด้านหน้า (ventral root)
       รากเส้นประสาทด้านหลัง (dorsal root) ประกอบด้วยเซลล์ประสาทรับความรู้สึก ทำหน้าที่นำความรู้สึกจากส่วนต่างๆของร่างกายเข้ามายังไขสันหลัง   
       รากเส้นประสาทด้านหน้า (ventral root) ประกอบด้วยเซลล์ประสาทนำคำสั่ง (motor nerves) ทำหน้าที่นำกระแสประสาทหรือคำสั่งจากไขสันหลังออกไปยังกล้ามเนื้อหรือต่อมต่างๆภายในร่างกาย

    เส้นประสาทไขสันหลังในคนมีทั้งหมด 31 คู่ ประกอบด้วย
   เส้นประสาทไขสันหลังบริเวณคอ (cervical nerves) 8 คู่
   เส้นประสาทไขสันหลัง บริเวณอก (thoracic nerves) 12 คู่
   เส้นประสาทไขสันหลัง บริเวณเอว (lumbar nerves) 5 คู่
   เส้นประสาทไขสันหลัง บริเวณกระเบนเหน็บ (sacral nerves) 5 คู่
    และ เส้นประสาทไขสันหลัง บริเวณกระดูกก้นกบ (coccygeal nerves) อีก 1 คู่

       เส้นประสาทไขสันหลังมีใยประสาทที่ทำหน้าที่แตกต่างกัน 4 ชนิด คือ

   - ใยประสาทนำความรู้สึกที่ผิวหนัง ผนังลำตัว ข้อต่อ และเส้นเอ็น ทำให้เรารู้สึกร้อน เย็น สัมผัสลูบไล้ เจ็บปวด รู้สึกว่าขณะหนึ่งๆ กำลังเดิน ยืน วิ่ง หรือทรงตัวเช่นไร ตัวอย่างเช่น ขณะยืน ความรู้สึกที่ข้อกระดูกสันหลัง ข้อสะโพก ข้อเข่า ข้อเท้า ซึ่งรับน้ำหนักของร่างกาย ทำให้เรารู้ว่าเรากำลังยืนอยู่ เป็นต้น
- ใยประสาทที่นำคำสั่งจากไขสันหลังไปยังกล้ามเนื้อลาย ก่อให้เกิดการเคลื่อนไหวทั้งแบบที่บังคับได้และแบบที่บังคับไม่ได้ ถ้าเซลล์ประสาทนี้ถูกทำลายไป จะเกิดอาการอัมพาตของกล้ามเนื้อตามอวัยวะต่างๆเช่น แขน ขา
 - ใยประสาทชนิดนำกระแสประสาทจากหน่วยรับความรู้สึกของหลอดเลือดและอวัยวะต่างๆที่อยู่ในช่องท้องและช่องทรวงอก ใยประสาทนี้ถูกกระตุ้นเมื่ออวัยวะภายในร่างกายเกิดการเปลี่ยนแปลง เช่น ลำไส้พองตัว หลอดเลือดหดตัว - ใยประสาทเกี่ยวข้องกับระบบประสาทอัตโนมัติ ใยประสาทนี้ไปสิ้นสุดที่กล้ามเนื้อเรียบและต่อมต่างๆภายในร่างกาย เกี่ยวข้องกับการทำงานของระบบประสาทอัตโนมัติ เช่น การเคลื่อนไหวของลำไส้

        การบาดเจ็บของไขสันหลังและเส้นประสาทไขสันหลัง ภยันตรายที่ทำให้กระดูกสันหลังเคลื่อน และอาการบาดเจ็บที่เกิดกับไขสันหลังโดยตรง เป็นต้นว่า กระสุนปืนเจาะไขสันหลัง จะทำให้ไขสันหลังเกิดความเสียหาย ผลที่ตามมามีหลายอย่าง ทั้งนี้ขึ้นกับความรุนแรงของบาดแผล ตลอดจนระดับไขสันหลังที่ได้รับความเสียหาย
          ถ้าไขสันหลังบริเวณคอได้รับความเสียหาย แขนและขาจะเป็นอัมพาต หายใจลำบาก หรือติดขัดทันทีที่เกิดเหตุ แขนและขาจะอ่อนปวกเปียก ความรู้สึกใต้ส่วนที่ได้รับบาดเจ็บจะหมดไป นอกจากนี้ยังไม่สามารถควบคุมการขับถ่ายปัสสาวะได้ เพราะกระแสประสาทที่เชื่อมโยงสมองกับไขสันหลังส่วนที่ต่ำกว่าระดับคอจะขาดการติดต่อกัน เมื่อเวลาผ่านไป อาจเป็นอาทิตย์หรือเดือน อาการอัมพาตที่แขนและขาจะค่อยๆเกิดการเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้น เนื่องจากไขสันหลังส่วนที่อยู่ต่ำกว่าส่วนที่ได้รับบาดเจ็บจะฟื้นตัวขึ้นเล็กน้อย แขนและขาจะเริ่มตอบสนองต่อสิ่งเร้าได้บ้าง ในบางรายอาจโชคดีถึงขั้นที่ใช้ขาได้ แม้จะเดินกะเผลกก็ตาม
        ถ้าหากส่วนที่บาดเจ็บใต้ระดับคอลงมาเช่นที่กลางหลัง อวัยวะที่ได้รับผลกระทบจะอยู่ที่ขา ความรู้สึกทางเพศหมดไป หมดสมรรถภาพทางเพศ เพราะเส้นประสาทนี้จะอยู่บริเวณตอนล่างของร่างกาย

อ้างอิง
ข้อมูลสื่อ ชื่อไฟล์: 89-008
นิตยสารหมอชาวบ้าน เล่มที่: 89 เดือน/ปี: กันยายน 2529
คอลัมน์: ร่างกายของเรา