วันพุธที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2560

พลังงานที่มากระแทกร่างกายแล้วไปไหน ( ตอน 7.11 )

พลังงานที่มากระแทกร่างกายแล้วไปไหน ( ตอน 7.11 )

ก้นกระแทก คุณเคยยืน เดินนานๆ จนปวดหลังปวดเอว
คุณเคยนั่งทำงาน นั่งขับรถนานๆจนปวดหลังปวดเอว
คุณเคยลื่นล้ม หงายหลัง แผ่นหลังฟาดพื้น
คุณเคยลื่นล้มก้นจ้ำเบ้า เวลาที่ก้นกระแทกพื้น
คุณเคยกระโดดลงมาจากที่สูง เมื่อฝ่าเท้าถึงพื้น คุณรู้สึกบาดเจ็บอย่างไรครับ

    ที่เกริ่นมานี้ต้องการแสดงให้เห็นอีกด้านหนึ่งของการบาดเจ็บ เป็นด้านที่เราไม่ได้กล่าวถึง และส่วนมากในการบำบัดรักษา จะไม่ได้แก้ไขในเรื่องนี้ เป็นเรื่องพลังงานที่สั่งสมเข้ามาในกายเรา จะโดยการซึมซับจากการใช้ชีวิตปกติในแต่ละวัน หรือพลังงานที่เข้ามาจากการกระแทก กระชากจากอุบัติเหตุต่างๆ ทุกกรรมทุกวาระ ทุกๆพลังงานที่เข้ามาจะสั่งสมอยู่ภายในกายเรา เปรียบเสมือนลมที่เป่าเข้าไปในลูกโปร่ง เป่าเข้าไปจนลูกโปร่งโต ใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ ลูกโปร่งโตจนความดันที่เกิดขึ้นภายในลูกโปร่งมีมาก มากจนผิวลูกโปร่งรับไม่ได้ ความยืดหยุ่นของผิวลูกโปร่งไม่มีเหลืออีกแล้ว สุดท้ายลูกโปร่งก็จะระเบิด
      แต่ผิวกายคนไม่ใช่ผิวลูกโปร่ง พลังงานที่สั่งสมเข้าไปในกายก็จะมากขึ้นเรื่อยๆ เมื่อลมไม่ไหลเวียนออกนอกกาย จะทำให้ความดันของลมที่ขัดอยู่ในกายเพิ่มขึ้นตามลำดับ ลมที่ขัดมากขึ้น หรือพลังงานที่สั่งสมมีมากขึ้นนั้น ไม่มีผลทำให้ผิวหนังเราระเบิดเหมือนผิวลูกโปร่ง ผิวหนังของเรามีความยืดหยุ่น เมื่อพลังงานสั่งสมมากขึ้นเรื่อยๆ แล้วลมในกายไม่สามารถไหลออกนอกกาย ตามรูขุมขน ตามข้อกระดูกต่างๆ ตามรูทวารต่างๆ ทำให้ผิวหนังเราก็จะยืดขยายออกไป ( เหมือนคนที่ตั้งครรภ์ ที่อายุครรภ์ยิ่งมาก ท้องก็ยิ่งขยาย โตออกไป ท้องจะยุบลงมาได้ก็ต่อเมื่อได้คลอดลูกออกมาแล้วเท่านั้น )

      ความดันของลมในช่องท้อง ขึ้นอยู่กับการสั่งสมของพลังงานมากขึ้น ลมไม่สามารถไหลเวียนออกนอกกายได้ ยิ่งนานวัน ยิ่งสะสมเพิ่มขึ้น ยิ่งไปกดทับกล้ามเนื้อให้มีอาการเจ็บปวด ไปกดทับอวัยวะมีผลทำให้อวัยวะนั้นๆทำงานไม่อยู่ในสภาวะปกติ ความยืดหยุ่นของกล้ามเนื้ออวัยวะเสียสภาพไปชั่วขณะ
      เช่นอาการจุกเสียด ลมแน่นที่ช่องท้อง ลมหรือพลังงานที่อยู่แน่นในช่องท้องก็จะไปกดทับกระเพาะอาหาร หรือบีบกระเพาะอาหาร เมื่อกล้ามเนื้อกระเพาะอาหารหดตัวแล้วกล้ามเนื้อกระเพาะอาหารขยายตัวขึ้นมาไม่ได้ ขนาดของกระเพาะอาหารก็จะเล็กกว่าในสภาวะปกติ พลังงานกลที่ช่วยในการย่อยอาหาร คือช่วยคลุกเคล้าน้ำย่อยและอาหาร จึงลดประสิทธิภาพการย่อยอาหารลงไป

      ถ้าเราทำให้ลมในกายไหลเวียนออกนอกกายได้ ลมที่ไหลออกจะลากพลังงานที่สั่งสมอยู่ออกนอกกายไปด้วย ทำให้ลมในช่องท้องคลายตัว ท้องแฟบลง ส่งผลให้การทำงานของอวัยวะที่เสียสภาพไปนั้น ฟื้นตัวกลับมาโดยอัตโนมัติ อาการป่วยของเราก็จะทุเลาและหายไปในที่สุด

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น