วันอังคารที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561

ลมและพลังงาน ( ตอนที่ 9.8 )

ลมและพลังงาน ( ตอนที่ 9.8 )
พลังงานกับอาการตึงแข็งของแนวเส้น

          นวดไล่ลม หลายๆคนที่ยังมีอาการป่วยไม่หนัก จนถึงต้องแก้ที่ลมในกาย จะไม่คุ้นเคยกับการนวดบำบัดนวดไล่ลม เพราะไม่ค่อยมีใครพูดถึงเรื่องการบำบัดลมในกาย ที่บำบัดกันเป็นแค่ การทำให้ลมเคลื่อนไหลเปลี่ยนจากจุดหนึ่ง ย้ายไปอยู่อีกจุดหนึ่ง ลมที่เคลื่อนไหลนี้ยังไม่ไหลออกนอกร่างกายเรา

           ที่ต้องกล่าวย้ำถึงความหมาย และลักษณะการไหลเวียนของลมบ่อยๆ เพราะธาตุลมและธาตุไฟเป็นนามธรรม เราไม่สามารถเห็นด้วยตาได้ ไม่เหมือนธาตุดินและธาตุน้ำ ที่เป็นรูปธรรมเห็นได้ด้วยตา จับต้องได้ด้วยมือ การกดนวดการบำบัดรักษาที่ผ่านๆมา จึงเป็นการบำบัดที่ธาตุดินและธาตุน้ำมากกว่า ธาตุลมและธาตุไฟ เราจึงละเลยที่จะรักษาให้กลับมาสู่สมดุลของร่างกาย เป็นสมดุลของธาตุดินน้ำลมไฟ
          การนวดเส้น คือการนวดเส้นที่มีเลือดและลมแล่นอยู่ คำนี้จึงหมายถึงในเส้นเลือด มีเลือด และลม ไหลเวียนอยู่ในเส้นเลือด ต้องถามว่า การบำบัดรักษาอาการป่วยที่ผ่านมา การไหลเวียนของลมเป็นอย่างไร แค่เคลื่อนเปลี่ยนจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่ง หรือการรักษา การกดนวดนั้นๆทำให้ลมไหลออกนอกร่างกาย ตามรูขุมขนได้
        ลมขัด คือลมในแนวเส้นไม่ไหลเวียนออกนอกร่างกาย ธาตุลมในร่างกายเรา มีไม่มากไปกว่าขนาดร่างกายเรา อาการเจ็บป่วยเรื้อรังต่างๆ มาจากพลังงานที่ซึมซับเข้ามา ฝังเก็บแล้วทับถมอยู่ในร่างกายเรา เมื่อใดที่เราทำให้ลมเคลื่อนไหลออกนอกร่างกายได้ พลังงานเหล่านั้นก็จะคลายตามออกไปด้วย  อาการบวมโตของแนวเส้นก็จะลดลงมาเอง การขยับแขนขา ขยับข้อต่างๆก็จะคล่องตัวขึ้น
        แนวเส้นหรือเส้นที่มีเลือดและลมแล่นอยู่ ถ้าเปรียบแนวเส้น เป็นสายดับเพลิง จากสายที่นิ่มแบน นิ่มในลักษณะที่เราสามารถม้วนเก็บสายดับเพลิงนั้นได้ เมื่อใดที่เราเปิดวาล์วให้น้ำไหลเข้าสายดับเพลิง สายดับเพลิงจะเปลี่ยนสภาพแข็ง ตึงขึ้นมาทันที จนเราไม่สามารถหักหรืองอ สายดับเพลิงนั้นได้อีก เพราะน้ำเป็นของเหลว เมื่ออยู่ในภาชนะ รูปทรงใด ก็จะกระจายไปอยู่จนเต็มภาชนะรูปทรงนั้น น้ำที่อยู่เต็มสายดับเพลิง เมื่อมากขึ้นเรื่อยๆ จึงไปดันที่ผิวด้านในของสายดับเพลิง ความหนาแน่น ความดันของน้ำ ทำให้สายยางแข็ง หนัก งอและม้วนเก็บไม่ได้
          เมื่อเราปิดวาล์วน้ำไม่ให้ไหลเข้ามา  แล้วปล่อยน้ำให้ไหลออกที่หัวฉีดดับเพลิง สายดับเพลิงจะค่อยๆนิ่มลง น้ำไหลออก จนสายแบน ราบ จนเราสามารถม้วนเก็บสายดับเพลิงนั้นได้

         การนวดไล่ลม เปรียบแล้วก็เหมือนการทำให้สายดับเพลิงนิ่มลง จนม้วนเก็บได้ คือ การกดนวดไล่ลมนั้น จะเป็นการกดนวด กระทุ้งลมที่แนวเส้น การกระทุ้งนี้ส่งผลให้ ลมเคลื่อนไหลออกนอกร่างกาย ตามข้อกระดูก ตามทวาร ตามรูขุมขนทั่วร่างกายที่แนวเส้นลากผ่าน  เมื่อลมเคลื่อนไหลออกนอกร่างกายได้ พลังงานที่ซึมซับและสั่งสมอยู่ภายในร่างกาย ก็จะเคลื่อนไหลตามลมในกายที่เคลื่อนออก

          อาการเจ็บป่วยเรื้อรังในร่างกายคน เกิดจากการที่เราซึมซับพลังงานที่กระทบเข้ามา จากทุกๆอิริยาบท ตั้งแต่เกิดมา จะเกิดจากการใช้ชีวิตประจำวัน หรือจากอุบัติเหตุ ทุกๆพลังงานที่เคลื่อนเข้ามา จะต้องเคลื่อนไหลออกไปด้วย จึงจะเกิดความสมดุลของธาตุทั้งสี่
          พลังงานที่เข้ามาจากภายนอกร่างกาย เก็บสั่งสมอยู่ในร่างกายเรา ตามแนวเส้น ตามแนวกล้ามเนื้อ ช่องว่างในร่างกาย เช่นช่องท้อง กระโหลกศีรษะ ผิวกายของเราเหมือนกับผิวสายดับเพลิง คือพลังงานจะสั่งสมอยู่จากผิวด้านบน แล้วค่อยๆอัดแน่นลงไปเรื่อยๆ  เมื่อลมและพลังงานเป็นนามธรรม ไม่เห็นด้วยตา เครื่องไม้เครื่องมือที่ตรวจวัดจะสัมผัสได้แค่ธาตุดิน และธาตุน้ำ แต่ธาตุลมและธาตุไฟไม่สามารถตรวจจับได้
             การที่ธาตุลม ไม่สามารถไหลเวียนออกนอกร่างกาย จึงทำให้พลังงานที่สั่งสมภายในแนวเส้น บวมพอง โตขึ้น ( เหมือนกับสายดับเพลิงที่น้ำเต็มสาย ) แนวเส้นคือเส้นเลือดที่ปลายปิด ปลายเส้นเลือดจะเปิดเมื่อเข้าสู่อวัยวะ ดังนั้นเมื่อเส้นบวมพองระหว่างกระดูกแต่ละท่อน การพับของข้อต่างๆ ก็จะไม่สะดวก ไม่คล่องตัวเหมือนเดิม ( เหมือนสายดับเพลิงที่น้ำเต็มสาย จนม้วนสายไม่ได้ งอพับสายไม่ได้ ) มีผลทำให้พับข้อไม่ลง เข่าพับงอไม่ได้ หลังค่อมหลังงอ  ขาโกร่ง นิ้วล็อค อาการทั้งหมดนี้ทำให้เราขยับข้อ ขยับท่อนกระดูกต่างๆยากเย็น ตึงมากๆจะเดินเหมือนหุ่นยนต์ ความยืดหยุ่นในการเคลื่อนไหวของร่างกายนั้นหมดไป
         เมื่อเรากดนวด ให้ลมและพลังงานเคลื่อนไหลออกร่างกาย ตามรูขุมขนที่แนวเส้นลากผ่าน ความดันของพลังงานที่สั่งสมอยู่จะลดลงมา แนวเส้นที่เคยบวม โต ก็จะแฟบ ยุบลงมา แนวเส้นที่อยู่ใกล้ข้อกระดูกต่างๆ ก็จะแฟบลง การขยับ การเคลื่อนไหวของร่างกายก็จะนิ่มนวล อ่อนลงมา ความยืดหยุ่นของการเคลื่อนไหวตามท่อนกระดูก และข้อกระดูก ตามแนวเส้นก็จะกลับมาดีขึ้น อาการหลังงอ หลังตึง นิ้วล็อค ก็จะเบาลง และหายไปในที่สุด

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น