วันเสาร์ที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2561

ลมกับพลังงาน ( ตอน 6 )

ลมกับพลังงาน ( ตอน 6 )
การแพร่ การเคลื่อนไหลของพลังงานลม

            การนวดไล่ลม จริงๆแล้วผมอยากจะทำความเข้าใจในลักษณะ ในวิธีการของการบำบัดว่า เป็นการนวดที่เน้น ทำให้ลมในร่างกายมีการเคลื่อนไหล และการเคลื่อนไหลนั้น ไม่ใช่แค่เป็นการทำให้ลมเคลื่อนจากจุดใดจุดหนึ่งของร่างกาย ให้ย้ายไปอยู่อีกจุดหนึ่งของร่างกาย แต่เป็นการเคลื่อนไหลของลมให้ไหลออกนอกร่างกายเรา ตามข้อกระดูกต่างๆ และตามรูขุมขนทั่วร่างกาย
             การนวดไล่ลม เป็นการนวดที่ทำให้ลมในร่างกาย ไปลาก ไปนำพาพลังงานอื่นๆที่เคยปะทะ ซึมซับ และสั่งสมเก็บไว้ในร่างกาย เมื่อลมเคลื่อนไหลออกนอกร่างกายได้ ลมก็จะนำพาพลังงานเหล่านี้ออกไปด้วย

              ลมก็เป็นพลังงานชนิดหนึ่ง ลมไหลเวียนอยู่ภายในแนวเส้น และกระจายอยู่ไปทั่วในร่างกายเรา ลมก็จะเคลื่อนที่ตามแนวเส้นจากที่ๆมีความหนาแน่นมากไปยังที่ๆลมมีความหนาแน่นน้อย เมื่อเรากดนวด กระทุ้งที่แนวเส้น ให้ไปดันลมในแนวเส้น ให้ไหลไปออกตามแนวรูขุมขน พลังงานลมก็จะเคลื่อนไหลออกไปนอกร่างกาย
           เมื่อลมไหลออกนอกร่างกาย ทำให้เกิดความต่างศักย์ของพลังงาน จึงเกิดการเหนี่ยวนำพลังงาน เกิดการแพร่ของพลังงานลมในแนวเส้น จากจุดหรือบริเวณที่มีความหนาแน่นมากกว่า ให้เคลื่อนไหลไปตามแนวเส้น ตามลมที่เคลื่อนไหลอยู่ ไปออกตามข้อกระดูก ออกที่ทวาร ออกที่รูขุมขนตามแนวเส้น
              การแพร่ของพลังงานลมในแนวเส้น จึงเป็นการนำความรู้ทางวิทยาศาสตร์มาอธิบายความว่า ทำไมเมื่อเรากดนวดไล่ลม ในแนวเส้นข้างขาด้านใน ( ท่านอนตะแคง ) เมื่อเรากดนวดแล้วลมไหลร้อนออกที่หัวเข่า ข้อเท้า วิ่งออกปลายขา วิ่งร้อนออกตามรูขุมขนตามแนวเส้น  ผลที่ได้คือลมและพลังงานที่แน่นอยู่ในแนวเส้นนี้ตั้งแต่ศรีษะ แขน แนวบ่า สะบัก แนวหลังใต้แนวสะบัก แนวหลังใต้แนวสะบัก แนวกระดูกสันหลังเอว ลมและพลังงานในแนวเส้นที่อยู่ส่วนด้านบนร่างกายนี้ ก็จะเคลื่อนไหลลงมาที่แนวเส้นที่เรากดนวดอยู่ แล้วเคลื่อนไหลออก ไปตามข้อกระดูกและรูขุมขนที่ลมได้เคลื่อนไหลร้อนออกไปแล้ว ลมและพลังงานที่สั่งสมที่แนวด้านบนของร่างกายก็ค่อยๆคลายตัวลง

แล้วการแพร่ของพลังงาน ช่วยบำบัดอาการหมอนรองกระดูกเคลื่อนทับเส้นประสาทขา ได้อย่างไร
                                                     
                                    16 กันยายน 2561

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น