วันอังคารที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2561

ลมกับพลังงาน ( ตอน 8 )

ลมกับพลังงาน ( ตอน 8 )
อาการเส้นตึงทั้งซีก

            อาการป่วยเรื้อรัง อาการที่รักษาไม่ได้ของคนเรา ส่วนมากเป็นการป่วยที่เกิดจากความไม่สมดุลของธาตุลมในร่างกาย ผู้ป่วยหลายคนรับรู้ด้วยตัวเองว่า มีลมแน่นอยู่ในช่องท้อง มีลมวิ่งป่วนอยู่ในร่างกาย หลายคนมีอาการตัวร้อนแต่ไม่มีไข้ บางคนมีอาการหายใจลำบาก กลืนน้ำลายไม่ลง มีอาการเหนื่อยแปลบที่หัวใจ ในขณะที่กล้ามเนื้อหัวใจปกติไม่มีปัญหา

     ผู้ป่วยหลายคนถ้าเขาเรอออกมาได้ อาการแน่น เมื่อยล้าบริเวณคอบ่าไหล่ก็จะเบาลง
    ถ้าเขาสามารถผายลมออกมาได้ ช่องท้อง ก็จะอึดอัดน้อยลง
     เวลาเดินถ้ามีเสียงลั่นที่ข้อเข่า-ข้อเท้า แนวขาเราก็จะเบาขึ้น

       ที่บอกกล่าวมาทั้งหมดนี้ เป็นส่วนหนึ่งของอาการที่เกิดจากการขัดของธาตุลมในร่างกาย ยังมีอีกหลายๆอาการที่เริ่มต้นก็เกิดมาจากปัญหาที่ลมไม่สามารถไหลออกนอกร่างกายได้ ทำให้พลังงานจากภายนอกที่เคยกระทบ และเก็บสั่งสมอยู่ภายในแนวเส้น
     พลังงานเหล่านี้เข้ามาในกายแล้ว แต่พลังงานไม่สามารถเคลื่อนไหลออกไปจากร่างกายเราได้ ยังคงเก็บสั่งสมพลังงานนั้นๆไว้ในแนวเส้น แล้วค่อยๆแผ่พลังงานนั้นไปเก็บที่บริเวณรอบๆแนวเส้นที่พลังงานเคลื่อนเข้ามา ค่อยๆสะสม พอกพูนเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เป็นเดือน เป็นปี

     พลังงานถ้าหากทยอยเข้ามาในร่างกาย เราจะไม่ค่อยรู้สึก แต่ถ้าหากเกิดอุบัติเหตุแรงๆ มากระแทกร่างกายเรา ครั้งเดียวจากการกระแทก พลังงานที่สะเทือนเข้าร่างกายเรามาก มากจนบางครั้งทำให้เราเกิดอาการบาดเจ็บขึ้นมาทันที

      ทุกๆอิริยาบทของเรา ทุกๆการก้าวเดิน มีพลังงานเบาๆสะท้อนเข้ามาในร่างกายที่ฝ่าเท้า พลังงานสะเทือนขึ้นมาแค่ข้อเท้า
     ถ้าเรากระโดดลงมาจากต้นไม้ เราอาจจะปวดตึงขึ้นมาถึงแนวหลัง หรือศรีษะ
     ทุกๆการก้าวเดิน มีพลังงานเบาๆสะท้อนเข้ามาในร่างกายที่ฝ่าเท้า พลังงานสะเทือนขึ้นมาแค่ข้อเท้า
    แต่ถ้าเราขาพลิก-ขาแพลง พลังงานจะเข้ามาที่ข้อเท้า ตึงขึ้นมาที่แนวหน้าแข้ง 1,2,3 ขึ้นมาที่แนวหน้าขา แนวข้างขาด้านนอก ตึงขึ้นสีข้าง ใต้รักแร้ ขึ้นไปถึงศรีษะ
     ถ้าเราเครียด พลังงานก็ค่อยๆเคลื่อนไหลลงมาจากศรีษะ ลงมาที่ท้ายทอย เส้นคอ ลงมาสั่งสมที่บ่า-สะบัก
      แต่ถ้าเราเกิดอุบัติเหตุศรีษะกระแทกของแข็ง พลังงานที่เข้ามาอาจจะเคลื่อนไหลผ่านลงมาถึงแนวหลัง-เอว กระเบนเหน็บ แนวข้างขาด้านใน แนวหน้าแข้งด้านใน ตาตุ่มใน สุดท้ายลงมาถึงฝ่าเท้าแนวร่องนิ้วโป้งและนิ้วชี้
     ถ้าเราใช้แขนทำงาน พลังงานก็จะสะเทือนเข้ามาที่ข้อมือ แขนท่อนล่าง รักแร้ สะบัก
    แต่ถ้าเราหกล้มเอามือยันพื้น พลังงานก็จะเคลื่อนผ่านไปแนวนิ้วก้อยจนถึงโคนแขน ผ่านไปที่สะบัก แนวเส้นระหว่างสะบักกับกระดูกสันหลัง
    ถ้าแขนเรามีการกระชาก พลังงานก็จะเคลื่อนผ่านไปแนวนิ้วโป้ง จนถึงโคนแขน ผ่านไปที่แนวไหปลาร้า ผ่านไปถึงแนวหน้าอก บริเวณเต้านม ผ่านไปถึงแนวลิ้นปี่

         พลังงานที่เคลื่อนไหลเข้ามาในร่างกายเรา จะขยับเคลื่อนไปกับการไหลของลมในกาย พลังงานเข้ามาทีละน้อย ร่างกายเราก็จะไม่ค่อยรู้สึก แต่ถ้าเกิดอุบัติเหตุหรือเกิดจากการที่ร่างกายเราหักโหมงานเกินไป เช่น ยกของที่หนักเกิน กระโดดสูงเกิน พลังงานก็จะเข้ามาในร่างกายมากขึ้น เพิ่มขึ้นทุกๆวัน จนถึงจุดที่ร่างกายเรารับพลังงานไม่ไหว เหมือนเขื่อนที่รับน้ำใกล้จะเต็มแล้ว

        กลไกเพื่อรักษาสมดุลของร่างกาย ร่างกายจะค่อยๆคลายพลังงานเหล่านี้ออกมา ด้วยการหาว การจาม การไอ การเรอ การผายลม เพื่อไม่ให้พลังงานภายในร่างกายเราอึดอัดแน่นจนเกินไป
       เมื่อมีการเรอ การผายลมออกมาแล้ว ความกดดัน ความดันของลมหรือพลังงานในร่างกายเราลดลง ร่างกายเราก็จะสบายขึ้น
       พลังงานเมื่อเคลื่อนไหลเข้ามาตามแนวเส้น ลมจะนำพาพลังงานที่สะเทือนเข้ามานี้ให้ไหลเข้าไป ไหลไปตามแนวเส้น จากบนศรีษะเคลื่อนไปปลายเท้า จากปลายเท้าเคลื่อนขึ้นไปถึงศรีษะ เมื่อพลังงานเข้าไปแล้วออกไม่ได้ ก็เกิดการสั่งสมที่แนวเส้น ทับถม พอกพูนเพิ่มขึ้นมา
     
  พลังงานเมื่อขัดอยู่ที่แนวเส้น ทำให้เส้นบวมพองขึ้นมามากกว่าปกติ (เหมือนกรณีเส้นคอจะบวมพองขึ้นมา เมื่อเรามีอาการไมเกรน คอตกหมอน ) วันเวลาผ่านไป ถ้าเรายังไม่ได้บำบัดทำให้ลมเคลื่อนออกนอกร่างกาย พลังงานก็ยังคงคั่งค้างอยู่ในร่างกาย โดยเฉพาะที่แนวเส้น ตามแนวกล้ามเนื้อต่างๆ ตามช่องว่างต่างๆในร่างกาย
       วันใดที่เราเกิดอุบัติเหตุ ล้มกระแทก หรือรถชนกระแทกเข้ามาที่ร่างกายเรา มีพลังงานจำนวนมากวิ่งเข้ามาในแนวเส้นเราที่มีอาการตึงอยู่แล้ว อุบัติเหตุครั้งนั้น ทำให้เรามีความรู้สึกตึงแนวเส้นทั้งซีก ตึงทั้งลำตัวที่โดนกระแทก ตั้งแต่ปลายเท้า ปลายมือ ตึงไปจนถึงศรีษะ
       ที่เป็นเช่นนี้เพราะพลังงานเดิมๆที่สั่งสมไว้มีมากอยู่แล้ว และเราก็ยังไม่ได้นำออกไป เมื่อมีอุบัติเหตุ มีการรับพลังงานจำนวนมากเติมเข้ามาอีก ทำให้แนวเส้นเมื่อรับพลังงานใหม่เข้ามา พลังงานก็เคลื่อนแผ่กระจายไปตามแนวเส้น ทำให้แนวเส้นบวมพองเพิ่มขึ้นมาอีก ความดันของพลังงานที่อยู่ในแนวเส้นก็เพิ่มเติมขึ้นมาก ตลอดแนวตั้งแต่เท้า แขน จนไปถึงศรีษะ จนทำให้มีอาการตึงแข็งในซีกนั้นขยับเขยื้อนลำบาก
       ส่วนอีกซีกหนึ่งที่ไม่โดนพลังงานกระแทกเข้ามา สภาพร่างกายยังปกติอยู่ ทำให้ร่างกายทั้งสองซีกมีอาการตึง หนักของแนวเส้นไม่เท่ากัน

                                        26 กันยายน 2561

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น