วันศุกร์ที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2560

พลังงานที่มากระแทกร่างกายแล้วไปไหน ( ตอน 4 )

พลังงานที่มากระแทกร่างกายแล้วไปไหน ( ตอน 4 )

    เราเคยสังเกตไหมว่า เวลาที่เราไปนวดและเมื่อนวดกดลงบนบ่า เราจะมีความรู้สึกว่าบ่าเราเบาขึ้น แต่เราจะรู้สึกว่าจะรู้สึกเมื่อยหลัง เมื่อยเอว ขึ้นมาทันที บางคนอาจปวดร้าวลงมาถึงขา ถึงนิ้วก้อยเท้า
     การที่อาการปวดเมื่อยที่บ่าดีขึ้น แต่ความปวด ความเมื่อยกลับเคลื่อนหนีลงไปที่ด้านล่างลำตัว เป็นการเคลื่อนตัวของพลังงานลงมาตามแนวเส้นเท่านั้นเอง
     การเจ็บป่วยในแนวเส้น จริงๆแล้วก็คือการที่เลือดและลมไหลเวียนได้ไม่ปกติ การที่เรานวด คลึงกล้ามเนื้อบริเวณแนวเส้นก็เป็นการช่วยทำให้กล้ามเนื้อคลายจากการหดตัว และช่วยสลายพังผืดที่ยึดกล้ามเนื้ออยู่ ช่วยให้เลือดไหลเวียนได้ดีขึ้น ส่วนในเรื่องการไหลเวียนของลมนั้น การบำบัดส่วนมาก ยังจัดการไม่ได้กับการที่จะทำให้ลมไหลเวียนออกนอกกาย ส่วนมากทำให้ลมเคลื่อนตัวได้เหมือนกัน แต่เป็นการเคลื่อนตัวของลม ย้ายจากตำแหน่งหนึ่งที่มีความดันของลมที่มากกว่า ณ.เวลานั้น ไปอีกตำแหน่งหนึ่งที่มีความดันของลมที่น้อยกว่า ดังนั้นพลังงานที่ไม่ได้เคลื่อนออกนอกกายจึงจะยังเคลื่อนที่ต่อ จะเคลื่อนไปยังแนวที่มีความดันของลมที่หนาแน่นน้อยกว่า วนเวียนไปอย่างนี้ไม่จบไม่สิ้น
      ดังนั้นหลังจากที่บ่าเรามีอาการเบาลงไป2-3วัน พลังงานที่เคลื่อนหนีลงไปอัดแน่นที่หลังและเอว ก็จะไหลย้อนกลับมาที่บ่าที่มีความดันของพลังงานน้อยกว่า เราจึงมีอาการปวดที่คอบ่าไหลกลับมาอีก เราจึงต้องไปนวดซ้ำอีก หลายครั้งหลายหน อาการก็จะเป็นแบบนี้ตลอด ทั้งนี้เพราะเราไม่สามารถนำพาพลังงานที่สั่งสมอยู่นี้ออกจากแนวเส้นไปได้ จนถึงวันที่เราสามารถบำบัดให้ลมเคลื่อนออกตามรูขุมขนได้ พลังงานที่คั่งค้าง อัดอยู่ในแนวเส้นนี้ก็จะไหลตามลมที่ไหลออกไป แค่นั้นเอง
    

   สรุปว่าถ้าลมไหลเวียนออกนอกกายตามรูขุมขน ตามข้อ ตามทวารต่างๆได้ ลมจะเป็นพาหนะนำพาพลังงานที่ร่างกายได้รับมาจากการกระแทก หรือแม้แต่แค่การที่เรายกของแล้วมีอาการปวดหลังปวดเอว พลังงานที่เคลื่อนย้ายไปมาในร่างกายเรานี้ จะไหลออกไปกับลมที่เคลื่อนออกไปจากกาย การนวดกดไล่ลมในแนวเส้นขาด้านใน ( ท่านอนตะแคง ) จะช่วยทำให้ลมเคลื่อนตัวได้ ในที่สุดก็จะทำให้เราเบาโล่งอย่างไม่เคยเป็นมาก่อน 
 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น