วันพุธที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2560

พลังงานที่มากระแทกร่างกายแล้วไปไหน ( ตอน 5 )

พลังงานที่มากระแทกร่างกายแล้วไปไหน ( ตอน 5 )

    สำหรับตอนนี้จะขอกล่าวถึงพลังงานที่จะเข้ามาสู่ร่างกายเรา ปกติแล้วมี 2ทาง คือ
1พลังงานที่สั่งสมเข้ามาในร่างกาย เข้ามาวันละนิดวันละหน่อย เข้ามาจากการที่เรามีกิจกรรมการขยับเคลื่อนไหวอวัยวะต่างๆ  ก็มีผลทำให้เกิดการสั่งสมพลังงานเข้ามาในร่างกายได้
    -  เรายืนมา เดินมาก ขับรถ ก็เป็นกิจวัตรประจำวัน สั่งสมพลังงานจากฝ่าเท้าขึ้นมาลำตัว จนถึงศรีษะ
    - เราใช้มือ ใช้แขน ในการทำงาน ยกของ ทำครัว ทำสวน ซักผ้า รีดผ้า ทำความสะอาดบ้าน เล่นกีฬา เล่นดนตรี ใช้งานคอมพิวเตอร์ สั่งสมพลังงานจากด้านบนคือ คอ-บ่า-ไหล่  แล้วคล่อยๆเคลื่อนมาที่หลัง เอว ขา ตามลำดับ
   - แม้กระทั่งการที่เราเครียด การนอนพักผ่อนไม่เพียงพอ การที่อากาศเปลี่ยนแปลงเดี๋ยวเย็นเดี๋ยวร้อน
                ฯลฯ

         เมื่อเราทำกิจกรรมนั้นจนเมื่อยล้า ไม่เพียงแต่จะมีผลต่อกล้ามเนื้อที่ตึงขึ้นเท่านั้น ยังมีผลถึงพลังงานที่เราสั่งสม อัดสะสมเข้าไปในร่างกายตามอวัยวะต่างๆ ตัวอย่างเช่นถ้าเรายืนมากๆ  เดินมากๆ เราจะเริ่มมีอาการที่เท้า จากนั้นก็จะมีอาการบริเวณน่อง ขาด้านหลังท่อนบน แนวเอว แนวเส้นในแนวข้างกระดูกสันหลัง  มีอาการลมแน่นท้อง มีอาการหลังค่อม มึนหน้าผาก เพราะพลังงานที่สั่งสมเข้ามาจะค่อยๆเพิ่มขึ้น เราก็จะมีความรู้สึกว่าแน่น ตึงไปหมด ทำให้เราเรียกอาการนี้ว่าเส้นตึง
 2 การสั่งสมพลังงานเข้ามาในร่างกายโดยเกิดจากเหตุการณ์ไม่ปกติ การที่ร่างกายโดยกระทบจากวัตถุ หรือพลังงานภายนอก เป็นการกระแทกเข้ามา บางครั้งก็เกิดจากการประสบอุบัติเหตุ รถชน กระโดดจากที่สูง ศีรษะกระแทกเพดานปูน แขนกระชาก ขาพลิกขาแพลง  ทำให้ร่างกายเกิดอาการบาดเจ็บเรื้อรัง ปวดแขน ปวดขา ปวดเข่า  ปวดหลัง ปวดมึนศีรษะ

        การสั่งสมพลังงานถ้าเกิดขึ้นเรื้อรัง ทำให้กล้ามเนื้อบาดเจ็บร่างกายจะสร้างพังผืดมาป้องกัน กล้ามเนื้อไม่ให้บาดเจ็บมากขึ้น พังผืดจะอยู่คลุมกล้ามเนื้อไว้ ทำให้การขยับของกล้ามเนื้อไม่ดีเท่าเมื่อก่อน ตามข้อต่างๆก็ขยับได้ไม่ดี ดังนั้นถ้าเราคลึงบริเวณกล้ามเนื้อที่มีพังผืดคลุมอยู่ เลือดแดงจะนำอาหารและออกซิเจนเข้าให้เซลล์กล้ามเนื้อ ไปคลายชั้นพังผืดให้บางลง และนำของเสียในเซลล์ และคาร์บอนไดออกไซด์ออกมากับเลือดดำ
         ส่วนการนวดไล่ลมก็จะช่วยเปิดรูขุมขน ตามแนวเส้นที่เรากดนวดลงไป เพื่อเปิดทางให้ลมไหลออกนอกกายได้ และลมที่ไหลออกนอกกายนั้นก็จะหน่วงนำเอาพลังงานที่สั่งสมนั้นออกไปด้วย ลมที่วิ่งออกตามรูขุมขนยิ่งร้อนมากขึ้นเท่าไร ก็ยิ่งมีกำลังที่จะนำพลังงานที่สั่งสมอยู่ภายในกายออกได้มากขึ้นเท่านั้น

          อาการบาดเจ็บที่เรื้อรังก็จะทุเลาลง และก็จะหายไปในที่สุด

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น