วันศุกร์ที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2560

พลังงานที่มากระทบร่างกายแล้วไปไหน ( ตอน2 )

  พลังงานที่มากระทบร่างกายแล้วไปไหน ( ตอน2 )


นาย ก. กระโดดลงมาจากกำแพง
นาย ข. กระโดด คว่ำหน้า ให้ลำตัวกับท้องปะทะกับผิวน้ำ
นาย ค. เดินไปข้างหน้า แล้วมีลมแผ่วๆ มาปะทะร่างกาย
และ นาย ง. เดินไปข้างหน้า แล้วมีลูกฟุตบอลพุ่งเข้ามาที่ท้องอย่างเต็มแรง

        ถ้าจะวิเคราะห์อาการบาดเจ็บของคนแต่ละคนก็คือ
  นาย ก. มีอาการบาดเจ็บ เนื่องจากแรงที่สะเทือนขึ้นมาตามท่อนขา จะปวดเข่า จนถึงปวดหลัง
  นาย ข. บาดเจ็บ จุกตามลำตัวเนื่องจากลำตัวปะทะกับผิวน้ำ
  นาย ค. ไม่มีอาการบาดเจ็บ
  นาย ง.  บาดเจ็บ จุกที่ท้อง เพราะโดนลูกฟุตบอลพุ่งเข้าใส่ท้อง
       การบาดเจ็บจากการที่โดดลงน้ำแล้วลำตัวปะทะกับผิวน้ำ หรือการบาดเจ็บจากการที่โดนลูกฟุตบอลพุ่งใส่ท้อง ทั้ง 2ตัวอย่างนี้ไม่ได้เกิดแค่บาดแผล หรือแค่รอยฟกช้ำเท่านั้น การบาดเจ็บในลักษณะนี้เมื่อมีแรงมาปะทะ  แล้วร่างกายเราได้รับแรงปะทะ แล้วซึมซับแรงปะทะ เข้าไปในอวัยวะนั้นๆ  เก็บเข้าไปซ้ำแล้วซ้ำเล่า โดยที่ไม่มีการผองถ่ายแรงที่ปะทะนั้นออกมาเลย
     
      ลองดูตัวอย่างจริงๆ  นักกีฬาแบดมินตัน ที่กระโดดตบบ่อยๆ อาการป่วยส่วนมากที่เจอก็คือ เข่ามีปัญหา เส้นขาตึง นั่งขัดสมาธิไม่ได้ เนื่องจากการที่เรากระโดดบ่อย น้ำหนักตัวก็จะทิ้งลงมาที่ขาและเข่าตามแรงโน้มถ่วง เมื่อฝ่าเท้าแตะพื้นแรงปะทะก็จะสะท้อนกลับเข้าไปที่ท่อนขา และข้อเข่า เป็นซ้ำแล้วซ้ำเล่า
      หรือการที่เรากระโดดลงมาจากต้นไม้ หรือกระโดดลงมาจากกำแพง เมื่อขาแตะถึงพื้น เคยมีอาการปวดขา ปวดเข่า ปวดหลังหรือไม่
  ที่เกริ่นมาให้ดูนี้เพื่อชี้ให้เห็นว่า แรงที่ปะทะ วิ่งสวนตรงเข้ามาในร่างกาย เราจะเอาออกได้อย่างไร  เราสามารถรักษาอาการบาดเจ็บกล้ามเนื้อ อาการฟกช้ำสักระยะหนึ่งก็หายไปได้ ถ้าเราเอาแรงที่มาปะทะออกไม่ได้ จะมีผลกระทบอะไรกับร่างกาย และสุดท้ายการนวดไล่ลมช่วยได้อย่างไร



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น